![]() |
การเปรียบเทียบนโยบายการจัดการศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษาในต่างประเทศ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มณฑา ธรรมจริยาวัฒน์ |
Title | การเปรียบเทียบนโยบายการจัดการศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษาในต่างประเทศ |
Contributor | ปพณ ปุณญะรักษิต |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2563 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 245 - 277 |
Keyword | กระบวนการจัดการศึกษา, หลักสูตรอาชีวศึกษา, การอาชีวศึกษา |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบนโยบายการจัดการศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษาในต่างประเทศ สภาพปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการอาชีวศึกษาในต่างประเทศ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร โดยเริ่มต้นจากการศึกษาแนวความคิดและกระบวนการเกี่ยวกับนโยบายอาชีวศึกษา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายอาชีวศึกษา ทั้งเอกสารทางวิชาการประเภทต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือทางเว็บไซต์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาความสอดคล้องของข้อมูลต่างๆ จากการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบนโยบายหลักสูตรอาชีวศึกษาในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่รัฐบาลมีความมั่นคงและต่อเนื่อง ผู้นำรัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี มีวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศจะเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการชูนโยบายปฏิรูปการศึกษาในนามของรัฐบาลด้วยตนเอง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ผู้นำรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นทำการศึกษา รวบรวมข้อมูล และเสนอเป็นนโยบายต่อรัฐบาล โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและคณะกรรมการมีวาระชั่วคราว} ใช้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานด้าน “วางแผน” หรือ หน่วยงานด้าน “วิจัย” และมีคณะกรรมการด้านนโยบายเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงหลายประเทศเช่น ออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ลาว เวียดนาม พม่า ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีหน่วยงานวิจัยการศึกษาเป็นผู้ให้ข้อมูลจากการวิจัยเพื่อให้กระทรวงพัฒนานโยบาย บางประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น กำหนดให้มีสถาบันวิจัยการศึกษาแห่งชาติที่เป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของกระทรวงศึกษาธิการ ญี่ปุ่นมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยที่เป็นองค์การมหาชน ทำให้ NIER สามารถพัฒนางานวิจัยได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพและระดมนักวิจัยได้จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในขณะที่เวียดนามและสิงคโปร์มีสถาบันครุศาสตร์แห่งชาติ (NIE) ที่เน้นการวิจัยการศึกษาควบคู่ไปกับการผลิตและพัฒนาครู นอกจากนี้ NIE ของสิงคโปร์ NIER ของญี่ปุ่น และ KEDI ของสาธารณรัฐเกาหลีเน้นการพัฒนาหน่วยงานให้มีบทบาทโดดเด่นเป็นผู้นำในระดับนานาชาติ ด้วยการให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือในการวิจัยตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศอื่น ๆ เช่น NIER ให้ทุนศึกษาดูงานแก่นักวิจัยการศึกษาประเทศที่มีความร่วมมือกัน KEDI เป็นตัวแทน UNESCO-IIEP ในการฝึกอบรมบุคลากรด้านการวางแผนการศึกษาแก่ประเทศด้อยพัฒนา NIE ของสิงคโปร์พัฒนาผู้บริหารการศึกษาให้กับบรูไน เวียดนาม และบาห์เรน สำหรับ สภาพปัญหาจะเห็นว่าปัจจัยเรื่องภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ผู้นำขององค์กรเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยและนโยบายการศึกษา นอกจากนี้ ความเป็นอิสระขององค์กรวิจัยเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จะทำให้สถาบันวิจัยการศึกษาดำเนินงานอย่างอิสระ ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายการเมือง ข้อเสนอแนะปัจจัยความสำเร็จของการจัดการอาชีวศึกษาในต่างประเทศ ประกอบด้วย ปัจจัยความสำเร็จระดับนโยบาย (2) ปัจจัยความสำเร็จระดับสถานศึกษา (3) ปัจจัยความสำเร็จระดับผู้เรียน และ (4) ปัจจัยความสำเร็จระดับชุมชน |