การปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด: ศึกษาเฉพาะกรณีการปฏิบัติต่อเด็กตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
รหัสดีโอไอ
Creator ปิ่นบุญญา ลำมะนา
Title การปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด: ศึกษาเฉพาะกรณีการปฏิบัติต่อเด็กตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
Contributor พิมลศักดิ์ นิลผาย, ธรรมรัตน์ สินธุเดช, กฤติญา สุขเพิ่ม
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2563
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 9
Journal No. 2
Page no. 183 - 210
Keyword การอบรมเลี้ยงดูเด็ก, การอุปการะเลี้ยงดูเด็ก, การปฏิบัติตนต่อเด็ก
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print)
Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครอง 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครอง 3) เสนอแนะแนวการปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครอง ในการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยศึกษารวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 351 คน จากโรงเรียน 6 แห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จำนวน 10 คน และผู้ปกครองของเด็ก จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของการปฏิบัติของผู้ปกครองทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยการอุปการะเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน การให้การศึกษาและพัฒนา และด้านความคาดหวังของผู้ปกครองในการศึกษาต่อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.95 อยู่ในระดับมาก ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ปกครอง ได้แก่ การขาดความรู้และจิตสำนึก การขาดรายได้ของผู้ปกครอง ความเชื่อเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรเสนอว่าหน่วยงานรัฐต้องให้ความรู้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ผู้ปกครอง การกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้บิดามารดาได้เลี้ยงดูเด็กด้วยตนเอง สถานศึกษาและชุมชนต้องมีส่วนร่วมอบรมเลี้ยงดูเด็กและควรเพิ่มศักยภาพให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างบูรณาการภายใต้ฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ