![]() |
นาฏดุริยางคศิลป์สร้างชาติ: การยินยอมและการต่อรองนิยามความเป็นไทยของข้าราชการสำนักการสังคีต กระทรวงวัฒนธรรม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปิยาภา สังขทับทิมสังข |
Title | นาฏดุริยางคศิลป์สร้างชาติ: การยินยอมและการต่อรองนิยามความเป็นไทยของข้าราชการสำนักการสังคีต กระทรวงวัฒนธรรม |
Contributor | วงอร พัวพันสวัสดิ์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2563 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 25 - 54 |
Keyword | สำนักการสังคีต, ความเป็นไทย, ชีวอำนาจ |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | บทความวิจัยชิ้นนี้ใช้แนวคิดอำนาจนำของอันโตนิโอ กรัมชี่ และแนวคิดวาทกรรมและชีวอำนาจของมิเชล ฟูโกต์ ในการศึกษากระบวนการยินยอมและต่อรองกับอำนาจรัฐในการนิยาม “ความเป็นไทย” ผ่านงาน และตัวตนของข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม บทความนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานไปจนถึงระดับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 ราย และใช้วิธีการวิเคราะห์สาระสำคัญ (thematic analysis) ในการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานที่ขับเคลื่อนโดยข้าราชการศิลปินแห่งนี้เป็นหนึ่งในกลไกอำนาจรัฐไทยที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ความเป็นไทยผ่านการแสดงนาฏดุริยางคศิลป์ เช่น การแสดงนาฏศิลป์ไทยและโขนในงานราชพิธี รัฐพิธี เป็นต้น ข้าราชการสำนักการสังคีตยอมรับและใช้วาทกรรม “ไทยจารีต” ในการนิยามความเป็นไทยและตัวตนขององค์กร กระบวนการปลูกฝังนิยามดังกล่าวสู่ตัวข้าราชการเกิดขึ้นผ่านกลไกทั้งด้านวิชาชีพที่ฝึกฝนมา และด้านวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการเคารพเชื่อฟังครูและการฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อมุ่งควบคุมร่างกายและความคิดให้เชื่อว่าตนคือผู้รู้ กระทำ และอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทย อย่างไรก็ดี เงื่อนไขของการทำงานในยุคปัจจุบัน เช่น ข้อจำกัดด้านเวลาในการแสดง ทำให้ข้าราชการสำนักการสังคีตต้องมีการต่อรองกับวาทกรรม “ไทยจารีต” ในพื้นที่ของการแสดง เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของฉาก เครื่องแต่งกาย บทการแสดง ให้สอดรับกับสถานการณ์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนดังกล่าวได้เผยให้เห็นขอบเขตและความลื่นไหลของ “ไทยจารีต” ที่ไม่ตายตัว |