![]() |
การเมืองว่าด้วยการเคลื่อนไหวทางสังคมของภิกษุณี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ประพิศ โบราณมูล |
Title | การเมืองว่าด้วยการเคลื่อนไหวทางสังคมของภิกษุณี |
Contributor | ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์, พัทฐกร ศาสนะสุพินธ์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 140-159 |
Keyword | การเมือง, การเคลื่อนไหวทางสังคม, ภิกษุณี |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการสร้างพื้นที่ทางสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และการเคลื่อนไหวทางสังคมของภิกษุณี โดยได้นำหลักของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ ผู้รู้ (Key Informants) ผู้ปฏิบัติ (Casual Informants) และบุคคลทั่วไป (General Informants) จำนวน 35 คน ปรากฏผลการวิจัย ดังนี้ 1. การสร้างพื้นที่ทางสังคมของภิกษุณีในประเทศไทยสามารถทำได้ในลักษณะของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมแก่พุทธศาสนิกชนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสื่อมวลชนทุกแขนงด้วยการยึดพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด แต่ก็มีการให้พื้นที่ทางสังคมแก่ภิกษุณีในการดำเนินการดังกล่าวยังไม่มากเท่าที่ควรเหมือนกับพระสงฆ์ 2. ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของภิกษุณีที่มีต่อศาสนาในวัฒนธรรมไทย เป็นการนำเสนอความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายทางสรีระได้นำไปสู่ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่างกันในทางอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องสติปัญญา ความสามารถ ความถนัด จิตใจ และอารมณ์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นำไปสู่สถานะของผู้หญิงที่ด้อยกว่าผู้ชาย 3. การเคลื่อนไหวทางสังคมของภิกษุณีภายใต้กฎหมายคณะสงฆ์ของไทยเป็นการเคลื่อนไหวของภิกษุณีเพื่อไม่ให้มองว่าผู้หญิงเป็นเพศที่นำมาซึ่งอันตรายต่างๆ การไม่ยอมรับวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้หญิงสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้จนส่งผลให้เสรีภาพในพระพุทธศาสนาที่ผู้หญิงพึงจะได้รับมีการดำเนินการไปอย่างไม่เสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ชาย |