![]() |
การศึกษาปัญหาการคลังท้องถิ่นด้านรายได้ กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลนครปากเกร็ด และเทศบาลตำบลเสาธงหิน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กานต์รวี วิชัยปะ |
Title | การศึกษาปัญหาการคลังท้องถิ่นด้านรายได้ กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลนครปากเกร็ด และเทศบาลตำบลเสาธงหิน |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 500-525 |
Keyword | การคลังท้องถิ่น, การจัดเก็บเงินรายได้, ปัญหาการคลังท้องถิ่น |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาเชิงการสังเคราะห์อภิมานวรรณกรรมทางด้านปัญหาในการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาการจัดเก็บรายได้และสภาพปัญหาในการจัดเก็บรายได้และการบริหารงานคลัง ของสำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ด และสำนักงานเทศบาลตำบลเสาธงหิน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการจัดเก็บรายได้ของสำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ด และสำนักงานเทศบาลตำบลเสาธงหิน การศึกษาวิจัยนี้ใช้การดำเนินการวิจัยแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเคราะห์อภิมานผนวกกับการศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาวรรณกรรมจากฐานข้อมูลในการดำเนินการสังเคราะห์อภิมาน และ 2) แบบคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเป็นทางการกึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลภาคสนามจากสำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ดและสำนักงานเทศบาลตำบลเสาธงหิน โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 2 แห่ง จำนวนแห่งละ 1 คน ใช้วิธีการสุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ปัญหาการคลังท้องถิ่นด้านรายได้นั้น มีด้วยกัน ทั้งหมด 4 ประเด็นคือ 1) ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละดับ 2) ปัญหาด้านประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ปัญหาด้านโครงสร้างการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) ปัญหาการกำหนดนโยบายทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังพบว่า พื้นที่วิจัยทั้ง 2 แห่ง ประสบเหมือนกันคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นมักจะเป็นปัญหาด้านความไม่แน่นอนของกฎหมายและกฎระเบียบที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลส่วนกลางที่สั่งการลงมาและการขาดความเป็นอิสระในการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |