![]() |
การนำนโยบายอาชีวศึกษา การจัดการเรียนการสอนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ในช่วง พ.ศ. 2557 – 2560 ไปปฏิบัติ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มณฑา ธรรมจริยาวัฒน์ |
Title | การนำนโยบายอาชีวศึกษา การจัดการเรียนการสอนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ในช่วง พ.ศ. 2557 – 2560 ไปปฏิบัติ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 441-461 |
Keyword | การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การอาชีวศึกษา, โครงการเรียนร่วมแบบทวิศึกษา |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ของการวางนโยบาย ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในในการนำนโยบายอาชีวศึกษาการจัดการเรียนการสอนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ในช่วง พ.ศ. 2557 – 2560 ไปปฏิบัติ ใช้ระบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ การวิจัยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และการเข้าสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในโครงการที่ศึกษา แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาความสอดคล้องของข้อมูลต่างๆ ระหว่างระดับบุคคลและพื้นที่ที่ใช้ศึกษา และตรวจสอบผลการศึกษาด้วยวิธีการแบบสามเส้า จากการศึกษาพบว่า การออกแบบนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง โดยเฉพาะด้านหลักสูตร สาขาวิชาที่เปิดสอนไม่สอดคล้องกับสภาพความต้องการของตลาดแรงงานอย่างแท้จริง ลักษณะปทัสถานและวัตถุประสงค์ของนโยบายอาชีวศึกษาการจัดการเรียนการสอนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) กำหนดไว้ 3 ประเด็น แต่ในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพียงสองประเด็น ต่อมาปัญหาอุปสรรคได้แก่ การที่หน่วยงานในระดับสูงไม่สามารถทำให้หน่วยงานผู้ให้บริการที่นำนโยบายไปปฏิบัติได้อย่างตรงตามเจตจำนงของนโยบาย ทำให้เกิดความล้มเหลวหรือล่าช้าในการนำไปนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งความไม่เข้าใจกระบวนการทำงานที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านบุคลากร 4) ด้านงบประมาณ และ 5) ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่เรียน และข้อเสนอแนะเชิงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในนโยบายอาชีวศึกษาการจัดการเรียนการสอนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ไปปฏิบัติสามารถเชื่อมโยงกับ 7 ปัจจัยตามกระบวนการการดำเนินงานโครงการทวิศึกษาเชิงระบบได้ |