![]() |
ความคาดหวังที่มีต่อกระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะ แนวใหม่ในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธานี สุวรรณไตรย์ |
Title | ความคาดหวังที่มีต่อกระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะ แนวใหม่ในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร |
Contributor | ศรีรัฐ โกวงศ์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 221-236 |
Keyword | การให้บริการสาธารณะแนวใหม่, องค์การบริหารส่วนตำบล, ความคาดหวัง, the New Public Service, Sub-district Administrative Organization, the Expectation |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของ ประชาชนที่มีต่อกระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะแนวใหม่ในชุมชน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อ กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะแนวใหม่ในชุมชน จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านความคิดเห็น ที่มีต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับระดับความคาดหวังที่มีต่อกระบวนการ ขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะแนวใหม่ในชุมชน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิง ปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 365 รายที่มีภูมิลำเนาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมระดับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อ กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะแนวใหม่ในชุมชน ภาพรวมอยู่ใน ระดับสูง ต่อมาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ และ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความคาดหวังที่มี ต่อกระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะแนวใหม่ในชุมชนในระดับที่ แตกต่างกัน และปัจจัยทางด้านความคิดเห็นที่มีต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดีมีความสัมพันธ์กับระดับความคาดหวัง ทั้งนี้กำหนดความเชื่อมมั่นไว้ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 |