![]() |
นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล |
Title | นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2555 |
Journal Title | วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 1 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 146-165 |
Keyword | การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, สังคมผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Development for Quality of Life of the Elderly, Elderly Society, Elderly, Local Administrative Organization |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2286-9328 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาการก่อตัวของนโยบายการ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาการนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ 4) เพื่อศึกษาผลของการนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติพื้นที่ในการศึกษาวิจัยคือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครราชสีมาชัยภูมิและบุรีรัมย์การเก็บข้อมูลใช้วิธี วิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักร่วมกับการเสริมด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการวิจัยเชิง คุณภาพได้คัดเลือกเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการ ที่ดีแหล่งข้อมูลคือ 1) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจำนวน 55 คน 2) เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3) การสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยและ นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามปรากฏการณ์ส่วนวิธีวิจัยเชิงปริมาณได้ คำนวณประชากรกลุ่มตัวอย่างจากนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดจำนวน 686 คนด้วยสูตรค านวณของ Yamane ที่ค่าความคลาดเคลื่อน + / - 0.05 ภายใต้ ความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 252 คนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า ประการแรกพบว่าการวิเคราะห์ประเด็นเรื่องการก่อตัวของนโยบายการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่สามารถเข้าสู่วาระนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นไปตามกรอบการวิเคราะห์สามกระแสได้แก่กระแสการเมืองกระแสตัวปัญหา กระแสนโยบายและหน้าต่างนโยบายตามตัวแบบของ Kingdon ประการที่สองพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติเรียงตามล าดับ ความส าคัญได้ดังนี้คือ 1) ภาวะผู้น า 2) ทรัพยากรนโยบาย 3) การบริหารจัดการ 4) ความต้องการของผู้สูงอายุ5) ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประการที่สามพบว่าผลกระทบในด้านบวกคือการนำนโยบายการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปปฏิบัติจะทำให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้นทั้งทางสุขภาพ ร่างกายจิตใจและรายได้ผลกระทบในด้านลบคือปัญหาด้านความจำกัดของ งบประมาณการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องผู้สูงอายุของบุคลากรในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นรวมทั้งการมีบุคลากรจำนวนน้อยไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ทั่วถึงประการ ที่สี่พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบความสำเร็จในการนำนโยบายการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางและควรปรับปรุงการนำนโยบาย ไปปฏิบัติหลายด้านได้แก่งานด้านงบประมาณการบริหารบุคลากรการจัดทำฐานข้อมูล อย่างบูรณาการและการจัดให้มีเครือข่ายความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ |