![]() |
“มอง” หลักการปกครองท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 “ย้อน” แนวพระราชดำริการจัดตั้ง “การประชาภิบาล” |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นพพล อัคฮาด |
Title | “มอง” หลักการปกครองท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 “ย้อน” แนวพระราชดำริการจัดตั้ง “การประชาภิบาล” |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2555 |
Journal Title | วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 1 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 24-60 |
Keyword | การประชาภิบาล, การปกครองท้องถิ่น, การกระจายอำนาจ, พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, Civil Governance, Local Administration, Power Distribution, King Rama VII |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2286-9328 (Print) |
Abstract | การปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้และการฝึกฝนทางการเมืองของประชาชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในระดับชาติ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ ระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดสยามประเทศได้มีการปกครองในระดับท้องถิ่นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งมี แผนการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญและวางหลักการปกครองของประเทศในระบบรัฐสภาตามอย่างของอารยประเทศส่วนใหญ่และพระองค์มีแนวพระราชดำริที่จะจัดการปกครองท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเมืองของราษฎรในระดับล่างก่อนโดยมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาและเตรียมให้มีการร่างพระราชบัญญัติเทศบาลหรือ ประชาภิบาลขึ้น เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการปกครองท้องถิ่นของสยามในขณะนั้นให้มีประสิทธิภาพและสามารถเลี้ยงตนเองได้จากแนวพระราชดำริดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่ามีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวความคิดการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หลายประการ เช่น การกำหนดรูปแบบองค์กร การบริหารงาน การกำกับดูแล เป็นต้นบทความชิ้นนี้จึงมุ่งหมายที่จะศึกษาพัฒนาการทาง แนวคิดและเปรียบเทียบลักษณะต่างๆของแนวพระราชดำริในการกระจายอำนาจในยุคของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในช่วง พ.ศ.2469-2474 และหลักการกระจายอำนาจ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีฐานคิดในการศึกษาว่า หากไม่มีแนวพระราชดำริใน เรื่อง “การประชาภิบาล” เพื่อพัฒนาการปกครองท้องถิ่นในสมัยนั้น ก็คงไม่มีหลักการ กระจายอำนาจที่เป็นรูปธรรมดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การ สร้างฐานคิดในการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นไทยให้เป็นฐานการเรียนรู้และการ ฝึกฝนทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมี ส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในระดับชาติต่อไป |