การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารละลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
รหัสดีโอไอ
Creator รุ่งรวี อุปชัย
Title การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารละลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Contributor เมตตา เถาว์ชาลี, เนตรชนก จันทร์สว่าง
Publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Publication Year 2568
Journal Title วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Journal Vol. 36
Journal No. 1
Page no. 62-75
Keyword การแก้โจทย์ปัญหา, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu
Website title https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu
ISSN 2822-0730 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร้อยเอ็ด จำนวน 2 ห้องเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้รูปแบบเดียวกัน รวมนักเรียนทั้งหมดจำนวน 74 คน แบบคละความสามารถ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร้อยเอ็ด จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 12 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.58 – 4.63 ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา แบบอัตนัย จำนวน 12 ข้อ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.32 ซึ่งอยู่ในระดับมาก มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.22–0.47 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (คอนบราค) เท่ากับ 0.81 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารละลาย แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.44–0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20–0.89 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t–test แบบ Dependent–sample และแบบ One sampleผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง สารละลาย มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ก่อนเรียนโดยรวม 23.10 คิดเป็นร้อยละ 24.06 หลังเรียนโดยรวม 65.60 คิดเป็นร้อยละ 68.33 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 44.27 นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 23.63 หรือร้อยละ 78.77 พบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ