การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (MBL) เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
รหัสดีโอไอ
Creator กรรณิกา พิมพิลา
Title การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (MBL) เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Contributor ไพศาล วรคำ
Publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Publication Year 2568
Journal Title วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Journal Vol. 36
Journal No. 1
Page no. 46-61
Keyword การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การทำงานเป็นทีม
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu
Website title https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu
ISSN 2822-0730 (Online)
Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน จำนวน 9 แผน 14 ชั่วโมง มีค่าความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด (x ̅=4.00-4.61, S.D.= 0.02-0.51) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.33-0.78 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24-0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และแบบประเมินการทำงานเป็นทีม เป็นแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (One sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน มีการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดี (x ̅= 2.74, S.D.= 0.48)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ