![]() |
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อประสม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วรรณภา โนนศิริ |
Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อประสม |
Contributor | ปวีณา ขันธ์ศิลา, ประภาพร หนองหารพิทักษ์ |
Publisher | คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ |
Journal Vol. | 4 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 17-32 |
Keyword | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ตรรกศาสตร์เบื้องต้น, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, สื่อประสม |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE |
Website title | วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ |
ISSN | ISSN (Print) : 2773-949X;ISSN (Online) : 2773-966X |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อประสม เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย เลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ มีข้อคำถามทั้งหมด 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อประสม เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.13/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (Xbar = 4.45, S.D.= 0.57) |