ความสัมพันธ์ของจามปาและทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านรูปแบบศิลปกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 15
รหัสดีโอไอ
Creator วริศ โดมทอง
Title ความสัมพันธ์ของจามปาและทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านรูปแบบศิลปกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 15
Publisher คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
Publication Year 2567
Journal Title ดำรงวิชาการ
Journal Vol. 23
Journal No. 2
Page no. 11 - 46
Keyword รัฐโบราณ, จามปา, ทวารวดี
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong
ISSN 3027-6012
Abstract จามปาเป็นรัฐโบราณบริเวณตอนกลางและตอนใต้ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน มีอายุมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 21 ด้วยสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ชายฝั่งใกล้กับดินแดนจีนตอนใต้กับมีทรัพยากรที่สำคัญส่งผลให้จามปาเป็นหนึ่งในเมืองท่าสำคัญ มีการติดต่อกับกลุ่มรัฐโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือรัฐโบราณในประเทศไทย ได้แก่ ทวารวดีตอนกลาง ศรีวิชัยทางตอนใต้ ตลอดจนพื้นที่ทวารวดีภาคอีสานที่มีหลักฐานด้านศิลปกรรมเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสองพื้นที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 15 ทั้งรูปแบบโบราณวัตถุและโบราณสถาน เช่น ภาพแกะสลักบนพระธาตุพนม ประติมากรรมสิงห์ และใบเสมา ศิลปกรรมที่เกิดขึ้นช่วยให้มองเห็นมิติความสัมพันธ์ระหว่างจามปาและทวารวดีภาคอีสานในแง่มุมที่หลากหลายกว่าความสัมพันธ์ทางเชิงช่าง แต่ยังสะท้อนความสัมพันธ์ทางการเมืองและพุทธศาสนามหายาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมุมมองการตีความความสัมพันธ์ระหว่างจามปาและทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 15 ในมิติทางการเมืองและศาสนา ผ่านการวิเคราะห์การกระจายตัวของหลักฐานและรูปแบบศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ