![]() |
ความชุก การดำเนินงานป้องกัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณหทัย รักประชา |
Title | ความชุก การดำเนินงานป้องกัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย |
Contributor | พีรดนย์ ศรีจันทร์, พิลาสินี วงษ์นุช |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 51 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 108-122 |
Keyword | เด็ก, ผู้ปกครอง, ครูผู้ดูแลเด็ก, สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย, โรคมือเท้าปาก |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | อุบัติการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมักพบการระบาดในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการระบาดของโรค ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของเด็ก ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก รวมถึงปัจจัยด้านสุขอนามัยและการจัดการสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคมือ เท้า ปาก ในตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยใช้การสำรวจภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ปกครอง 389 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 49 คน และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 11 แห่ง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบประเมินด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา chi-square และสถิติพหุถดถอยลอจิสติก ผลการศึกษาพบอัตราความชุกของการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ร้อยละ 26.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อ คือ รายได้ ผู้ดูแลหลัก จำนวนเด็กในบ้าน ระดับความรู้ของผู้ปกครอง และระดับพฤติกรรมของผู้ปกครอง การประเมินสิ่งแวดล้อม พบว่าผ่านเกณฑ์ร้อยละ 63.6 ซึ่งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ไม่ผ่านเกณฑ์ พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ทุกปี สรุปผลและข้อเสนอแนะ ความชุกของโรคมือเท้าปากในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลบ้านดู่ อยู่ในระดับสูงเด็กเล็กที่อยู่ใครอบครัวที่มีรายได้สูง และมีปู่ย่าตายายเป็นผู้เลี้ยงดู มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ ควรประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการระบาดของโรคมือ เท้า ปากที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี |