สถานการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ระหว่างปี 2565-2567 และการพยากรณ์จำนวนผู้เข้ารับการตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่สถาบันราชประชาสมาสัย ระหว่างปี 2567-2568
รหัสดีโอไอ
Creator โชตินภา พิทันโชติ
Title สถานการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ระหว่างปี 2565-2567 และการพยากรณ์จำนวนผู้เข้ารับการตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่สถาบันราชประชาสมาสัย ระหว่างปี 2567-2568
Contributor ณภัทร คะโต้, Rapeepong Suphanchaimat, Benjamin Ongnok
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2568
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 51
Journal No. 1
Page no. 83-94
Keyword โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การติดเชื้อ, ปัจจัยเสี่ยง, การพยากรณ์
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract แม้ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ประกาศยุติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถาบันราชประชาสมาสัยก็ยังพบผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 อยู่เป็นระยะ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์จำนวนผู้มารับบริการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 และผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถาบันราชประชาสมาสัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 (2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบเชื้อ SARS-CoV-2 และ (3) คาดการณ์แนวโน้มผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ในช่วง 1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 มกราคม 2568 การศึกษานี้ใช้ข้อมูลภาคตัดขวางแบบอนุกรมเวลา โดยวิเคราะห์ข้อมูลผู้รับบริการทั้งหมด 1,801 ราย ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยการติดเชื้อด้วย binary logistic regression และคาดการณ์จำนวนผู้มาตรวจหาเชื้อ ด้วย seasonal autoregressive integrated moving average (SARIMA), seasonal exponential smoothing (SES), และ 3-month moving average (3-MA) ผลการศึกษาพบว่าผู้มารับบริการร้อยละ 28.2 ตรวจพบเชื้อ SARS-CoV-2 (ร้อยละ 42.8, 24.9 และ 23.6 ในปี 2565, 2566 และ 2567 ตามลำดับ) เพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป มีอาการไอ และไข้ มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการพยากรณ์ พบว่า จำนวนผู้มารับบริการตรวจหาเชื้อมีประมาณ 90 และ 70 รายต่อเดือน ด้วยโมเดล SES และ 3-MA ตามลำดับ ส่วน SARIMA(0,0,0)(0,1,0)12 แสดงค่าพยากรณ์ผันแปรในแต่ละเดือน ระหว่าง 37 ถึง 123 ราย การศึกษานี้มีข้อจำกัดบางประการ อาทิ การขาดตัวแปรปัจจัยเสี่ยงในชุมชน หรือระดับภูมิคุ้มกัน รวมถึง ข้อมูลที่เป็นฐานของการพยากรณ์ยังค่อนข้างสั้น อย่างไรก็ตามผลของการศึกษานี้น่าจะมีประโยชน์ในการวางแผนทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อรองรับผู้มารับบริการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ของสถาบันราชประชาสมาสัยในอนาคต
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ