![]() |
การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบป้องกันความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด “อากาศสดใส อาหารปลอดภัย ใส่ใจทุกอาคาร” |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อรพันธ์ อันติมานนท์ |
Title | การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบป้องกันความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด “อากาศสดใส อาหารปลอดภัย ใส่ใจทุกอาคาร” |
Contributor | ศิริรัตน์ ประเสริฐ, ประหยัด เคนโยธา, ภัทรินทร์ คณะมี, เยาวลักษณ์ แก้วแกมจันทร์, ชไมพร ชารี, หรรษา รักษาคม |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 51 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 45-58 |
Keyword | โรงเรียน, ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน, แร่ใยหิน, สารตะกั่ว, สารกำจัดศัตรูพืช |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในการป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ฝุ่น PM2.5 แร่ใยหิน สารตะกั่ว และสารกำจัดศัตรูพืช รูปแบบการศึกษาเป็นวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานของโรงเรียน ระยะที่ 2 ยกร่างแนวทางการดำเนินงาน ระยะที่ 3 โรงเรียนดำเนินงาน ระยะที่ 4 ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสังเกต และการทบทวนเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางในการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบว่ามีครูเข้าร่วมสนทนากลุ่มออนไลน์ทั้งหมด 29 คน จากโรงเรียน 23 แห่ง โรงเรียนส่วนใหญ่มีการทำเกษตรกรรม ประเด็นที่โรงเรียนยังขาดความรู้ เช่น การป้องกันสารตะกั่ว และแร่ใยหิน ระยะที่ 2 ถึงระยะที่ 4 มีการกำหนดองค์ประกอบโรงเรียนต้นแบบ 6 ด้านและมาตรการป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน ตามเกณฑ์ 22 ข้อ มีโรงเรียนทุกภาคของประเทศเข้าร่วมในระยะดำเนินการ 21 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียน ระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานตามมาตรการรายข้อ พบว่าโรงเรียนสามารถดำเนินมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ทุกแห่ง มาตรการป้องกันแร่ใยหินและสารกำจัดศัตรูพืชดำเนินการได้ 19 แห่งขึ้นไป ส่วนมาตรการป้องกันสารตะกั่ว ดำเนินการได้ 18 แห่งขึ้นไป และพบโรงเรียน 8 แห่ง มีการคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงาน จากการประเมินผลภาพรวมโรงเรียนทุกแห่งดำเนินการได้มากกว่าร้อยละ 70 จากมาตรการทั้งหมด ทั้งนี้กรมควบคุมโรคได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมโรงเรียนให้มากขึ้น |