การระบาดของไวรัสตับอักเสบเอในโรงเรียนจากแหล่งน้ำใช้ที่ไม่ได้รับการบำบัด อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ธมลวรรณ ฉัตรเงิน
Title การระบาดของไวรัสตับอักเสบเอในโรงเรียนจากแหล่งน้ำใช้ที่ไม่ได้รับการบำบัด อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย
Contributor อมรรัตน์ ชอบกตัญญู, อารีย์ ตาหมาด, ปิยะพร แซ่อุ่ย, ฟิตรา ยูโซ๊ะ, วสุวัฒน์ ทัพเคลียว, ชูพงศ์ แสงสว่าง, ฟารุค พิริยศาสน์, ชุลีพร จิระพงษา
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2568
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 51
Journal No. 1
Page no. 183-197
Keyword การระบาดของไวรัสตับอักเสบเอ, โรงเรียน, น้ำ, สุขอนามัย
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 มีรายงานการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอในนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอสุไหงโก-ลก ทีมสอบสวนโรคได้ดำเนินสอบสวนเพื่อระบุสาเหตุปัจจัยเสี่ยง และมาตรการควบคุมโรค ด้วยการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง รวมถึงศึกษาสิ่งแวดล้อม โดยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในโรงเรียน กำหนดนิยามผู้ป่วยคือผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 2 อาการ ได้แก่ ตัวตาเหลือง ไข้ ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดแน่นท้องหรือท้องอืด จุกเสียดลิ้นปี่ และจุกแน่นใต้ชายโครงขวา ในช่วงวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึง 5 เมษายน 2567 นอกจากนั้นมีการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เก็บซีรั่มเพื่อตรวจหา anti-HAV IgM และเก็บตัวอย่างน้ำใช้ น้ำดื่ม และน้ำแข็ง เพื่อตรวจหาคลอรีนอิสระ แบคทีเรียโคลิฟอร์ม และสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ การระบาดนี้พบผู้ป่วย 26 ราย เริ่มป่วย 29 กรกฎาคม 2566 ถึง 27 ธันวาคม 2566 คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 15.2 (26/171) อายุระหว่าง 7-29 ปี (มัธยฐาน 11 ปี) การศึกษาสิ่งแวดล้อมพบว่าน้ำใช้มาจากบ่อน้ำตื้นใกล้บ่อเกรอะซึ่งไม่ได้บำบัด โรงเรียนไม่มีสบู่ล้างมือ และร้อยละ 94 ของนักเรียนและบุคลากรไม่ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนี้ร้อยละ 69.6 ใช้น้ำก๊อกสำหรับอาบน้ำละหมาด และร้อยละ 21.1 กลืนน้ำก๊อกขณะบ้วนปาก ผลทางห้องปฏิบัติการ พบ anti-HAV IgM และเชื้อไวรัสตับอักเสบเอสายพันธุ์ IA ในผู้ป่วย ซึ่งสอดคล้องกับเชื้อที่ตรวจพบในน้ำใช้ นอกจากนี้น้ำใช้ไม่มีคลอรีนอิสระ และพบแบคทีเรียโคลิฟอร์มทั้งในน้ำใช้และน้ำดื่ม การศึกษาเชิงวิเคราะห์ไม่พบปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ โรงเรียนดำเนินมาตรการเติมคลอรีน จัดหาน้ำสะอาด สบู่ และติดตั้งระบบน้ำประปาถาวรในเดือนมกราคม 2567 หลังจากนั้นไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม การระบาดครั้งนี้น่าจะเกิดจากแหล่งน้ำใช้ที่ไม่ได้บำบัดและสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม การปรับปรุงคุณภาพน้ำ สุขาภิบาล และสุขอนามัยมีความสำคัญต่อการป้องกันการระบาดในอนาคต
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ