![]() |
การสอบสวนโรคซิลิโคสิสในผู้ประกอบอาชีพแกะสลักหินแกรนิต อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | บวร มิตรมาก |
Title | การสอบสวนโรคซิลิโคสิสในผู้ประกอบอาชีพแกะสลักหินแกรนิต อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี |
Contributor | อรนุช ศรีหะดม, สาวิตรี ภมร |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 51 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 171-182 |
Keyword | โรคซิลิโคสิส, แกะสลักหิน, สระบุรี |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ กรมควบคุมโรค ได้รับแจ้งจาก สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ว่าพบผู้ป่วยโรคซิลิโคสิส 2 ราย ประกอบอาชีพแกะสลักหินแกรนิตเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสระบุรี แพทย์ยืนยันวินิจฉัยโรคซิลิโคสิส ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคดำเนินการสอบสวนโรค เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาสาเหตุของการเกิดโรค ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกำหนดมาตรการป้องกันโรคซิลิโคสิส โดยทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยเพิ่มเติมในสถานพยาบาล ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในสถานประกอบกิจการ ศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานของอาชีพแกะสลักหินแกรนิต ตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นซิลิกาในบรรยากาศ ด้วยวิธีมาตรฐาน NIOSH Methods No. 7601 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการสอบสวนโรคพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 2 ราย ทำงานแกะสลักหินแกรนิตมากกว่า 20 ปี ขณะปฏิบัติงานไม่ได้สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่มีมาตรฐานตลอดเวลา ผลการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ย้อนหลัง 5 ปี พบทั้งหมด 5 ราย ปัจจุบันเสียชีวิตทั้งหมด ผลการค้นหากลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติมในสถานประกอบกิจการ ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม พบคนงานที่มีความเสี่ยง จำนวน 10 ราย อายุระหว่าง 35-64 ปี อายุการทำงาน 6-30 ปี มีอาการ ร้อยละ 50 อาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ แน่นหน้าอกและหายใจลำบาก ผลการเดินสำรวจความเสี่ยง พบความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นซิลิกาในกระบวนการทำงานตีหน้าหิน แกะสลักหัวสิงโต แกะสลักลวดลาย และแกะสลักตัวหนังสือ เสียงดังจากเครื่องเจียร และความร้อนจากสถานที่ทำงาน ผลการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นซิลิกาในบรรยากาศการทำงาน 8 ตัวอย่าง พบเกินค่ามาตรฐาน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 75) ดังนั้นจึงควรกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคให้มีการควบคุมแหล่งกำเนิดโดยการใช้เครื่องมือตัดหรือเจียรหินที่มีระบบดูดฝุ่นเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น ควบคุมที่ทางผ่าน โดยใช้ม่านน้ำในการดักจับฝุ่น และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม และควบคุมที่ตัวบุคคล โดยให้ผู้ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่มีมาตรฐานทุกครั้งเมื่อปฏิบัติงาน เช่น หน้ากาก N95 เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ นายจ้างควรอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน ตรวจสุขภาพก่อนเข้าปฏิบัติงาน และตรวจสุขภาพประจำปีตามปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นประจำทุกปี |