![]() |
การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำแห่งหนึ่ง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 3-6 พฤษภาคม 2567 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ผกามาศ แตงคูหา |
Title | การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำแห่งหนึ่ง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 3-6 พฤษภาคม 2567 |
Contributor | ชาตรี จุลเพชร, ละมุน แสงสุวรรณ์, แพรพลอย ฤกษ์เมือง, ดนัยณัฐ มัสจิต, สุพัตรา เส้งส่ง, ธรรมรัตน์ ช่วยเชียร |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 51 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 148-161 |
Keyword | การสอบสวนโรค, การระบาด, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, เรือนจำ, โอมิครอน |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.37 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร รายงานการพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นกลุ่มก้อน จำนวน 112 ราย ในเรือนจำแห่งนี้ แบ่งเป็นผู้ป่วยสงสัย 69 ราย และผู้ป่วยเข้าข่าย 43 ราย ทีมสอบสวนโรคได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 3-6 พฤษภาคม 2567 เพื่อยืนยันการระบาด ค้นหาเชื้อ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม 2567 มีการตรวจพบผู้ป่วยรวม 279 ราย โดยเป็นผู้ต้องขัง 276 ราย เจ้าหน้าที่เรือนจำ 2 ราย และผู้เกี่ยวข้องภายนอก 1 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยสงสัย 207 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย 67 ราย และผู้ป่วยยืนยัน 5 ราย ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 18-68 ปี โดยมีค่ามัธยฐานอายุ 37 ปี มีอาการไข้และเจ็บคอ ร้อยละ 53.85 น้ำมูก ร้อยละ 52.31 และไอ ร้อยละ 46.15 พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อพบว่า ร้อยละ 69.56 ใช้สิ่งของร่วมกัน ร้อยละ 44.92 นอนใกล้ชิด และ ร้อยละ 10.14 ทำกิจกรรมร่วมกัน จากการสุ่มเก็บตัวอย่างผู้ต้องขังที่มีผลตรวจ ATK บวก 5 ตัวอย่าง ยืนยันพบสายพันธุ์โอมิครอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการระบาดรวมถึงความแออัดในเรือนจำ (0.91 ตร.ม./คน) และการมีบุคคลภายนอกเข้ามาทำกิจกรรมในเรือนจำโดยไม่ตรวจ ATK ก่อนเข้าเรือนจำ และขณะอยู่ในเรือนจำไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย ก่อนเกิดการระบาด การปฏิบัติตามแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลรักษาผู้ต้องขังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เรือนจำที่เคร่งครัดเป็นสิ่งจำเป็นในการลดความเสี่ยงต่อการระบาดในอนาคต |