![]() |
การรับรู้สุขภาพและการทำความสะอาดมือของผู้เดินทางระหว่างประเทศคนไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ไชยยันตร์ บุญยศสวัสดิ์ |
Title | การรับรู้สุขภาพและการทำความสะอาดมือของผู้เดินทางระหว่างประเทศคนไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
Contributor | ปริณดา วัฒนศรี |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 51 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 123-137 |
Keyword | การรับรู้ด้านสุขภาพ, ทำความสะอาดมือ, ผู้โดยสาร |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | การส่งเสริมการทำความสะอาดมือในที่สาธารณะนับว่ามีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะท่าอากาศยาน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่ผู้เดินทางจากทั่วโลกมาอยู่รวมกัน ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อต่างๆ ผ่านพื้นผิวสัมผัสร่วมจำนวนมาก การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ด้านสุขภาพและการทำความสะอาดมือ รวมถึงระบุความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการทำความสะอาดมือของผู้โดยสารสัญชาติไทย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารสัญชาติไทยขาเข้า และขาออก จำนวน 72 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยแบบโพรบิต ผลการศึกษาพบว่าคนไทยที่เดินทางเข้า-ออก ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รับรู้ประโยชน์ของการล้างมืออยู่ในระดับสูงมาก รับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค รับรู้ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับสูง และมีการรับรู้ต่ออุปสรรคในการล้างมืออยู่ในระดับต่ำ ซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการล้างมือ และมีแรงจูงใจด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง มีการทำความสะอาดมือใน 6 สถานการณ์เป็นประจำ-บ่อยครั้ง ตามลำดับดังนี้ หลังจากเข้าห้องน้ำในท่าอากาศยาน (ร้อยละ 94.5) ก่อนรับประทานอาหารในท่าอากาศยาน (ร้อยละ 79.1) หลังลงจากเครื่องบิน (ร้อยละ 57.0) หลังผ่านจุดตรวจความปลอดภัย (ร้อยละ 51.4) ก่อนขึ้นเครื่องบิน (ร้อยละ 45.8) และก่อนผ่านจุดตรวจความปลอดภัย (ร้อยละ 45.8) ส่วนใหญ่เลือกใช้น้ำและสบู่ และเจลแอลกอฮอล์ ในการล้าง โดยใช้เวลาในการล้างมือ 5-15 วินาที การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และแรงจูงใจด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการล้างมือก่อนผ่านจุดตรวจความปลอดภัย (p-value=0.02) และหลังผ่านจุดตรวจความปลอดภัย (p-value=0.04) การรับรู้ต่ออุปสรรคในการล้างมือที่น้อยหรือต่ำ สัมพันธ์กับการที่ผู้เดินทางระหว่างประเทศคนไทยมีการล้างมือก่อน และหลังผ่านจุดตรวจมากกว่า อย่างไรก็ตามไม่พบว่าการรับรู้ และแรงจูงใจด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการล้างมือก่อนรับประทานอาหารในท่าอากาศยาน ก่อนขึ้นเครื่องบิน หลังลงจากเครื่องบินและหลังจากเข้าห้องน้ำ (0.09 |