![]() |
รูปแบบการถ่ายโอนภารกิจด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ของกรมควบคุมโรคสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อัจฉรา บุญชุม |
Title | รูปแบบการถ่ายโอนภารกิจด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ของกรมควบคุมโรคสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
Contributor | เบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 50 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 716-729 |
Keyword | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การถ่ายโอนภารกิจ, การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ, แนวคิดระบบสุขภาพ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้การป้องกันและควบคุมโรคเป็นภารกิจที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องดำเนินการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บทบาทของกรมควบคุมโรค และเพื่อหารูปแบบการถ่ายโอนภารกิจการด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยศึกษาใน อบจ. 32 จังหวัด ใช้แบบสอบถามระดับผู้บริหาร 86 ราย และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหาร 8 ราย รูปแบบการถ่ายโอนใช้แนวคิดระบบสุขภาพ 6 Building Blocks ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพ มากถึงร้อยละ 93.0 โรคติดต่อที่พื้นที่ต้องป้องกันควบคุมมากที่สุด ได้แก่ โรคอุบัติใหม่ เช่น โรค COVID-19 (ร้อยละ 94.2) กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มภัยสุขภาพ ได้แก่ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (ร้อยละ 80.2) พบว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มากที่สุด ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (x=2.24) ด้านภาวะผู้นำ/การอภิบาลระบบอยู่ระดับความพร้อมมากที่สุด (x=2.65) รองลงมาได้แก่ ด้านงบประมาณการเงินการคลัง (x=2.51) ระดับความพร้อมที่ต่ำที่สุดได้แก่ ด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x=1.86) ส่วนกลไกการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ในระดับตำบลอยู่ระดับที่ต่ำ (x=1.79) ความพร้อมของการถ่ายโอนภารกิจการป้องกันควบคุมโรคฯ ในมุมมองผู้บริหารมองว่า ความพร้อมขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์มุมมองผู้มีอำนาจจากส่วนกลางว่าจะเชื่อแบบไหน ถ้าเชื่อมั่นในกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ท้องถิ่นได้จัดการดูแลตนเอง สามารถจัดการภารกิจการป้องกันควบคุมโรคได้ กรมควบคุมโรคเตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจฯทุกมิติให้ชัดเจน เน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อม มีแผนการถ่ายโอนและลงทุนในระบบป้องกันและควบคุมโรคในท้องถิ่น วางระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินและการระบาดของโรค |