ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กและความเสี่ยงสุขภาพทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน ภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน
รหัสดีโอไอ
Creator มณฑล สุวรรณประภา
Title ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กและความเสี่ยงสุขภาพทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน ภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน
Contributor ธวัชชัย ศรีสอาด, พีรดา พงษ์ทอง, จักรพงษ์ สุขเจริญ, สุภัสสร เหมือนกัน, นันทกร อุดมวิเศษ, สุวิทย์ นำภาว์
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2567
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 50
Journal No. 4
Page no. 703-715
Keyword ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ความเสี่ยงทางสุขภาพ, ระบบทางเดินหายใจ, บุคลากรมหาวิทยาลัย
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความเข้มข้น ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ผลกระทบทางสุขภาพและอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจและการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการหายใจของบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานี้คือ เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่น Mini vol air sampler (AIR metrics US) และแบบประเมินความเสี่ยงและอาการผิดปกติจากการรับสัมผัสฝุ่น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ในสำนักงาน แม่บ้าน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและพนักงานร้านสะดวกซื้อ ทั้งสิ้นจำนวน 60 คน ผลการศึกษาพบว่า ค่าปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 มีค่าอยู่ในช่วง 8.0-72.0 µg/m3 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.21 µg/m3 อาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจที่พบมากที่สุดคือ มีน้ำมูกไหล คัดจมูกและมีอาการระคายเคืองตา ผิวหนัง คิดเป็นร้อยละ 51.70 และ 31.70 ตามลำดับ การประเมินค่าสัดส่วนความเสี่ยงทางสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่น (Hazard Quotient: HQ) อยู่ในช่วง 1.70-1.96 โดยทุกกลุ่มมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยกลุ่มนักศึกษามีค่าสัดส่วนความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มแม่บ้าน พนักงานร้านสะดวกซื้อ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานและอาจารย์ โดยมีค่าสัดส่วนความเสี่ยงเท่ากับ 1.96, 1.94, 1.92, 1.78, 1.78 และ 1.70 ตามลำดับ ดังนั้นบุคลากรจะต้องตระหนักถึงอันตรายจากการรับสัมผัสฝุ่นอยู่เสมอและปฏิบัติตนตามมาตรการ การควบคุมและป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็กอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยต่อไป
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ