![]() |
การสำรวจกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ ณ ร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศรัณญา เบญจกุล |
Title | การสำรวจกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ ณ ร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในประเทศไทย |
Contributor | ชยนันท์ สิทธิบุศย์, อรณิชา หนูนาค, รัฐชญา ตองติรัมย์, ชัยวัฒน์ นาแหลม, ธันยพร สกุลสวัสดิ์ |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 50 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 688-702 |
Keyword | ผลิตภัณฑ์ยาสูบ, อุตสาหกรรมยาสูบ, ร้านค้าปลีก |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ ศึกษากลยุทธ์และสิ่งสนับสนุนจากอุตสาหกรรมยาสูบที่มุ่งกระทำกับร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการรับรู้กฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของผู้ประกอบการร้านค้าดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบจากจังหวัดที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จาก 12 เขตบริการสุขภาพและกรุงเทพมหานคร รวม 1,360 ร้านค้า รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พบในร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านสถานที่วางจำหน่าย โดยร้อยละ 5.7 มีการตั้งโชว์ซองผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ลูกค้าเห็นชัดเจน กลยุทธ์ด้านส่งเสริมการขาย โดยร้อยละ 2.3 มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ เช่น ติดป้ายแสดงชื่อ/ยี่ห้อ และราคาด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ เห็นชัดเจน กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ โดยร้อยละ 1.8 มีผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทยาเส้นที่ไม่มีข้อความและภาพคำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด และกลยุทธ์ด้านราคาจำหน่าย โดยร้อยละ 3.4 ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในราคาที่ถูกกว่าร้านค้าใกล้เคียง ส่วนสิ่งสนับสนุนที่พบมากที่สุด ได้แก่ ตู้ตั้งสำหรับจัดวางผลิตภัณฑ์ยาสูบ ป้าย/สติกเกอร์ “ที่นี่จำหน่ายบุหรี่” และของรางวัลเมื่อขายได้ตามยอดที่กำหนด ตามลำดับ สำหรับการรับรู้กฎหมายของผู้ประกอบการร้านค้า พบว่า ร้อยละ 88.5 มีการรับรู้ รับทราบกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ แต่พบบางข้อที่ผู้ประกอบการมีการรับรู้ รับทราบในสัดส่วนที่น้อย ร้อยละ 39.3 ได้แก่ เมื่อสงสัยว่าผู้ซื้อมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้านค้าปลีกสามารถขอดูบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงอายุผู้ซื้อได้ |