![]() |
ความเสี่ยงจากการจมน้ำในกลุ่มเด็กอายุ 0-4 ปี ณ จังหวัดสุรินทร์ : การวิจัยขั้นสำรวจ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิมพ์ดารา มีสุวรรณ |
Title | ความเสี่ยงจากการจมน้ำในกลุ่มเด็กอายุ 0-4 ปี ณ จังหวัดสุรินทร์ : การวิจัยขั้นสำรวจ |
Contributor | ณัฐนารี เอมยงค์, จิราลักษณ์ นนทารักษ์, สันต์ สุวรรณมณี |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 50 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 678-687 |
Keyword | จมน้ำ, ความเสี่ยง, สุขภาพเด็ก |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งจากสาเหตุการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจในกลุ่มเด็กอายุ 0-4 ปี งานวิจัยขั้นสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเสี่ยงจากการจมน้ำสำหรับครัวเรือนที่มีเด็กอายุ 0-4 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 249 ครัวเรือน ในช่วงเดือนมิถุนายน 2567 โดยใช้เครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงจากการจมน้ำในกลุ่มเด็กอายุ 0-4 ปี ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการศึกษาพบว่า มีเด็กอายุ 0-4 ปี จำนวน 305 คน เพศหญิง ร้อยละ 53.1 อายุเฉลี่ย 2.1 ปี (SD=1.3 ปี) ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่มีรั้วกั้นหรือที่กั้นแหล่งน้ำโดยรอบ ร้อยละ 90.6 แหล่งน้ำเสี่ยงภายในบ้านที่พบมากที่สุด ได้แก่ กะละมัง (ร้อยละ 79.5) รองลงมา ได้แก่ ถังน้ำในห้องน้ำ (ร้อยละ 74.3) และถังน้ำ (ร้อยละ 73.5) และแหล่งน้ำเสี่ยงภายนอกบ้านที่พบมากที่สุด ได้แก่ ตุ่ม/โอ่งน้ำ (ร้อยละ 62.2) รองลงมา ได้แก่ อ่างปลา/ อ่างบัว (ร้อยละ 22.9) บ่อน้ำ (ร้อยละ 22.1) และสระว่ายน้ำพลาสติก (ร้อยละ 19.3) ความเสี่ยงด้านผู้ดูแลหลัก พบว่าพฤติกรรมเสี่ยงที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 18.5) การใช้ยาที่ทำให้ง่วงซึม (ร้อยละ 1.6) ประวัติการถูกทำร้าย (ร้อยละ 1.2) ประวัติการทำร้ายผู้อื่น (ร้อยละ 0.8) และประวัติโรคแขนขาอ่อนแรง (ร้อยละ 0.4) และความเสี่ยงด้านบุคคล พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า (ร้อยละ 1.6) และมีประวัติโรคลมชัก (ร้อยละ 0.3) ซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงจากการจมน้ำในหลายปัจจัยทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ดูแล และตัวเด็กเอง ดังนั้น ควรวางแผนป้องกันและกำหนดมาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็กตามปัจจัยเสี่ยงอย่างเหมาะสม |