ผลของโปรแกรมป้องกันการเกิดแผลเท้าเบาหวาน ต่อความรู้และพฤติกรรม การดูแลเท้า และสุขภาพเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง
รหัสดีโอไอ
Creator ณัฐนันท์ วัฒนวิการ
Title ผลของโปรแกรมป้องกันการเกิดแผลเท้าเบาหวาน ต่อความรู้และพฤติกรรม การดูแลเท้า และสุขภาพเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง
Contributor เพลินพิศ บุณยมาลิก, ปาหนัน พิชยภิญโญ
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2567
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 50
Journal No. 4
Page no. 664-677
Keyword เท้าเบาหวาน, ความรู้การดูแลเท้า, พฤติกรรมการดูแลเท้า, สุขภาพเท้า, ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมายของคิง
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract การวิจัยเชิงทดลองแบบไม่สุ่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการเกิดแผลเท้าเบาหวาน โดยมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมายของคิง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าในระดับต่ำถึงปานกลาง มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง จำนวน 52 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 26 คน ระยะเวลาศึกษา 7 สัปดาห์ เก็บข้อมูลในสัปดาห์ที่ 1, 5 และ 7 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความรู้การดูแลเท้า แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเท้า และแบบประเมินสุขภาพเท้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการทดสอบไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มอิสระ และการทดสอบค่าเปรียบเทียบแบบจับคู่สิ่งทดลอง ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลเท้าเบาหวาน ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) และ 2) ภายหลังได้รับโปรแกรมระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพเท้า สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) ดังนั้น โปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมายของคิง ทำให้กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงปัญหาสุขภาพเท้าเฉพาะราย มีการตั้งเป้าหมาย และประเมินความคืบหน้าสม่ำเสมอ ทำให้ได้รับข้อเสนอแนะการปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลเท้าที่เหมาะสมมากขึ้น ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพเท้าได้รับการแก้ไขที่ดีขึ้นได้
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ