ประสิทธิผลของระบบเติมยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหน่วยบริการ ปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ : การวิเคราะห์คะแนนความโน้มเอียง
รหัสดีโอไอ
Creator ทรรศนะ ธรรมรส
Title ประสิทธิผลของระบบเติมยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหน่วยบริการ ปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ : การวิเคราะห์คะแนนความโน้มเอียง
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2567
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 50
Journal No. 4
Page no. 647-654
Keyword ระบบเติมยา, ความดันโลหิตสูง, หน่วยบริการปฐมภูมิ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบการเติมยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำการศึกษาโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 จำนวน 500 ราย ผู้ป่วยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับบริการแบบปกติ และกลุ่มที่ได้รับบริการเติมยา ทำการควบคุมปัจจัยกวนด้วยการจับคู่คะแนนความโน้มเอียงด้วยวิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด สถิติเชิงพรรณนาใช้เพื่อแสดงจำนวนและร้อยละของข้อมูลทางประชากร สถานะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยง การทดสอบไคสแควร์ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรจัดกลุ่ม การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกทวินามเชิงเดี่ยวและเชิงพหุ กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05 ผลการวิเคราะห์คะแนนความโน้มเอียง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบมาตรฐานหรือแบบเติมยา สามารถจับคู่วิเคราะห์ได้ 188 คู่ การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกทวินามพบว่า การรับบริการเติมยา การควบคุมความดันไม่ได้ก่อนเข้ารับบริการ และการดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โดยมี Odds ratio เท่ากับ 1.61, 1.59 และ 1.70 ตามลำดับ (p-value=0.03, 0.04 และ 0.03) อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกทวินามเชิงพหุ ไม่พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ดังนั้นสรุปได้ว่าระบบการเติมยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ มีประสิทธิผลในการควบคุมความดันโลหิตไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรักษาแบบปกติ แต่มีแนวโน้มควบคุมความดันโลหิตไม่ได้มากกว่า การพัฒนาระบบเติมยาเพิ่มเติมอาจช่วยเพิ่มประสิทธิผลได้ การศึกษาครั้งต่อไปควรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการวัดความดันโลหิตและการบันทึกค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ