![]() |
สถานการณ์การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ในเขตสุขภาพที่ 5 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รพีพรรณ โพธิ์ทอง |
Title | สถานการณ์การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ในเขตสุขภาพที่ 5 |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 50 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 624-635 |
Keyword | การเฝ้าระวัง, การป้องกันควบคุมโรค, โรคอุบัติใหม่, เขตสุขภาพที่ 5 |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | จากความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สภาพอากาศของโลก ส่งผลต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ ดังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกที่ผ่านมา เขตสุขภาพที่ 5 เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคอุบัติใหม่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ในเขตสุขภาพที่ 5 และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ โดยการศึกษาแบบผสานวิธี ทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดย 1) ทบทวนเอกสารการเฝ้าระวังที่เกี่ยวข้องกับโรคอุบัติใหม่ การเฝ้าระวังกลุ่มอาการ และเอกสารการรับการประเมินตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพของทีมตระหนักรู้สถานการณ์และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี ปี 2567 และ 2) สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน รวมจำนวน 37 คน ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลของการดำเนินงานระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ มีความเหมาะสมมากถึงมากที่สุดมากกว่าหัวข้ออื่น ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า 1) การดำเนินงานระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่แทรกอยู่ในระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่มีอยู่เดิม การเฝ้าระวังกลุ่มอาการยังมีการดำเนินการอยู่ แต่ไม่มีการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการเฉพาะสำหรับโรคอุบัติใหม่ 2) ระบบเฝ้าระวัง ข้อมูลข่าวสารดำเนินการได้ดี มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ เขตสุขภาพที่ 5 จึงควรกำหนดงาน แผนงาน โครงการด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ พัฒนาระบบเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม พัฒนาการประสานงานให้ดีขึ้น พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติใหม่อย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพิ่มการจัดสรรงบประมาณ |