การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H3) ในค่ายลูกเสือ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนกุมภาพันธ์ 2566
รหัสดีโอไอ
Creator อภิญญา ดวงแก้ว
Title การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H3) ในค่ายลูกเสือ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนกุมภาพันธ์ 2566
Contributor จินตวัฒน์ บุญกาพิมพ์, บุษบา บัวผัน, กาญจนา กงจักร์, นัฐณรงค์ ไสยรส
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2567
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 50
Journal No. 4
Page no. 576-586
Keyword การสอบสวนระบาด, โรคไข้หวัดใหญ่, ค่ายลูกเสือ, จังหวัดร้อยเอ็ด
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (H3) ในค่ายลูกเสือ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย การระบาดของโรค หาสาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยงของการระบาด และกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ โดยวิธี retrospective cohort study เก็บรวบรวมข้อมูลและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมตามแบบสอบสวนโรค โดยนิยามผู้ป่วย หมายถึง นักเรียน ครู ที่มีอาการอย่างน้อย 2 อาการ คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ในระหว่างวันที่ 1-13 กุมภาพันธ์ 2566 การสำรวจสภาพแวดล้อมและเก็บตัวอย่าง throat swab ส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษานักเรียนและครู ทั้งหมดจำนวน 247 ราย เป็นผู้ป่วยอาการเข้ากับนิยาม จำนวน 163 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 65.99 เป็นผู้ป่วยยืนยัน Influenza A (H3) จำนวน 7 ราย ผู้ป่วยสงสัย จำนวน 156 ราย อัตราป่วยจำแนกตามเพศ เพศชายร้อยละ 76.29 เพศหญิงร้อยละ 53.57 อายุต่ำสุด 9 ปี สูงสุด 60 ปี มัธยฐานอายุ 13 ปี อัตราป่วยจำแนกตามกลุ่มอายุพบว่า อายุ 5-9 ปี ร้อยละ 100.00 อายุ 10-14 ปี ร้อยละ 73.67 อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 60.00 อายุ 20-24 ปี ร้อยละ 0.00 อายุ 25 ปีขึ้นไป ร้อยละ 27.27 อาการที่พบสูงสุด คือ ไอ ร้อยละ 88.34 รองลงมา มีน้ำมูก ร้อยละ 73.01 มีไข้ ร้อยละ 64.42 เจ็บคอ ร้อยละ 55.21 ปวดศีรษะ ร้อยละ 46.01 ไม่มีผู้ป่วยอาการรุนแรงและไม่มีผู้เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงของการระบาดครั้งนี้ คือ การใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น (Adjusted Odd Ratio: AOR=3.32, 95% CI=1.47-7.50) ปัจจัยการป้องกัน คือ การสวมหน้ากากอนามัย (AOR=0.46, 95% CI=0.26-0.80) การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้เกิดจากเชื้อ Influenza A (H3) ภายหลังจากดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ให้สุขศึกษาเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ เน้นการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น สวมใส่หน้ากากอนามัย คัดกรองและแยกนักเรียนป่วย นักเรียนป่วยหยุดเรียน ทำให้การแพร่ระบาดในครั้งนี้ยุติลง
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ