![]() |
การดื้อต่อสารทีมีฟอสของลูกน้ำยุงลายบ้าน ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | บุญเทียน อาสารินทร์ |
Title | การดื้อต่อสารทีมีฟอสของลูกน้ำยุงลายบ้าน ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี |
Contributor | ประสิทธิ์ รามะโคตร, วราภรณ์ อุ่นนาวิน, ปิยานุช พามา, ไสว โพธิมล |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 45 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 431-438 |
Keyword | อัตราการดื้อ, สารทีมีฟอส, ลูกน้ำยุงลายบ้าน |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการดื้อต่อสารทีมีฟอสของลูกน้ำยุงลายบ้านใน 7 จังหวัดพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2561 เลือกตัวแทนลูกน้ำยุงลายบ้าน 1 หมู่บ้านต่อจังหวัด โดยสุ่มอย่างง่าย เก็บลูกน้ำยุงลายบ้านมาพักเลี้ยงไว้ให้แข็งแรงอยู่ในสภาพปกติ ใช้ลูกน้ำระยะ 3 ตอนปลาย ถึงระยะ 4 ตอนต้น ทดสอบที่ระดับความเข้มข้นระหว่าง 0.00150.048 mg/L ตามวิธีขององค์การอนามัยโลก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ หาค่า LC50 ด้วยสถิติ probit regression และคำนวณอัตราการดื้อ (RR) ผลการศึกษาพบว่า ลูกน้ำยุงลายบ้านห้องปฏิบัติการ (Bora Bora) ที่ระดับความเข้มข้น 0.00150.048 mg/L อัตราตายร้อยละ 13-100 และพบอัตราตายร้อยละ 100 ที่ความเข้มข้น 0.012 mg/L ขึ้นไป โดยมีค่า LC50 เท่ากับ 0.003 mg/L ลูกน้ำยุงลายบ้านในพื้นที่ระดับความเข้มข้น 0.0060.048 mg/L พบอัตราตายร้อยละ 0100 มีค่า LC50 ระหว่าง 0.011-0.037 mg/L และมีอัตราการดื้อต่อสารทีมีฟอสระหว่าง 3.67-12.33 เท่า สรุปลูกน้ำยุงลายบ้านจังหวัดบึงกาฬมีการดื้อสูง ลูกน้ำยุงลายบ้าน จังหวัดนครพนม เลย สกลนคร หนองคายและอุดรธานี มีการดื้อปานกลาง และลูกน้ำยุงลายบ้านจังหวัดหนองบัวลำภูมีความไว จากผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ลูกน้ำยุงลายบ้านมีการดื้อที่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้สารทีมีฟอสในแต่ละพื้นที่ ควรนำผลการดื้อมาประกอบในการตัดสินใจให้เหมาะสม ทั้งขนาดความเข้มข้น ระยะเวลาที่สามารถควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ กล่าวคือ พื้นที่ที่มีอัตราการดื้อสูงกว่า ย่อมมีระยะเวลาควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายได้สั้นกว่า ควรใช้ตามความจำเป็นเพื่อชะลอระยะเวลาการดื้อของลูกน้ำยุงลายบ้าน และควรมีการเฝ้าระวังการดื้อเป็นระยะ ๆ |