ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยโรคมาลาเรียในกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยต่างชาติ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator สุริโย ชูจันทร์
Title ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยโรคมาลาเรียในกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยต่างชาติ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย
Contributor ปวิตร ชัยวิสิทธิ์, อมรรัตน์ ชุตินันทกุล
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2562
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 45
Journal No. 4
Page no. 380-391
Keyword มาลาเรีย, ผู้ป่วยคนไทย, ผู้ป่วยต่างชาติ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract โรคมาลาเรีย เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแพร่เชื้อมาลาเรีย รวมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยในกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยต่างชาติ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิผู้ป่วยโรคมาลาเรียรายใหม่จากฐานข้อมูลมาลาเรียออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2556-2559 จำนวน 5,541 ราย วิเคราะห์ข้อมูลหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยโรคมาลาเรีย โดยใช้โปรแกรม R ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางระบาดวิทยาโรคมาลาเรียในผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยต่างชาติคล้ายกัน โดยพบการป่วยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อาชีพทำสวนยาง ผู้ป่วยต่างชาติพบมากในจังหวัดระนอง (ร้อยละ 64.4) ส่วนผู้ป่วยชาวไทยพบมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ร้อยละ 40.2) พบการแพร่โรคสูงในช่วงพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อในหมู่บ้านที่มีการแพร่เชื้อบางฤดูกาล (A2) โดยผู้ป่วยชาวไทยส่วนใหญ่ติดเชื้อชนิด Plasmodium falciparum: PF (ร้อยละ 60.1) ส่วนผู้ป่วยต่างชาติติดเชื้อชนิด Plasmodium vivax: PV (ร้อยละ 56.7) จังหวัดที่มีการติดเชื้อชนิด PF สูง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราชและกระบี่ จังหวัดที่มีการติดเชื้อชนิด PV สูง ได้แก่ ภูเก็ต ระนองและชุมพร ผู้ป่วยต่างชาติมีประวัติการไปพักแรมในต่างพื้นที่สูงกว่าผู้ป่วยชาวไทย 3 เท่า ส่วนผู้ป่วยชาวไทยมีพฤติกรรมการนอนในมุ้ง และการใช้ยาทากันยุงมากกว่าผู้ป่วยต่างชาติ การพ่นสารเคมี บ้านผู้ป่วย และการเจาะโลหิตค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ พบในกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยสูงกว่าผู้ป่วยต่างชาติ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยโรคมาลาเรียในผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยต่างชาติพบว่า เพศ อายุ อาชีพ ประวัติการไปพักแรมก่อนเป็นไข้ การนอนในมุ้ง แหล่งคนไข้ติดเชื้อ ภูมิประเทศของแหล่งที่คนไข้ติดเชื้อ การพ่นสารเคมีในแหล่งติดเชื้อ การพ่นเคมีบ้านผู้ป่วยอาศัย การเจาะโลหิตค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มเติม มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยโรคมาลาเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และสื่อสารความเสี่ยง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดขณะกรีดยางและที่บ้านพัก เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของประเทศ
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ