การเข้าถึงบริการสุขภาพในสถานบริการสุขภาพต่างระดับ : กรณีศึกษาผู้ป่วยวัณโรค
รหัสดีโอไอ
Creator สุภาพร สุปินธรรม
Title การเข้าถึงบริการสุขภาพในสถานบริการสุขภาพต่างระดับ : กรณีศึกษาผู้ป่วยวัณโรค
Contributor อัญชลี เพิ่มสุวรรณ, สิริพร บูรพาเดชะ, นันทวดี ปินปันคง
Publisher กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2562
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 45
Journal No. 4
Page no. 355-367
Keyword ผู้ป่วยวัณโรค, การเข้าถึงบริการสุขภาพ, การจัดบริการ, ความสามารถในการจ่าย, การยอมรับของผู้รับบริการต่อผู้ให้บริการ, สถานบริการสุขภาพต่างระดับ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 2651-1649
Abstract วัณโรคเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข องค์การอนามัยโลกได้จัดประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (high burden country lists) แม้จะมีความก้าวหน้าในการดูแลรักษาวัณโรคและโรคเอดส์อย่างมาก จนสามารถลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตจากวัณโรคและเอดส์ได้ แต่ความท้าทายที่ยังพบอยู่คือ จำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่ยังเข้าสู่ระบบล่าช้า เป็นเหตุนำไปสู่การเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคได้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการเข้าถึงและเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยวัณโรคในสถานบริการสุขภาพต่างระดับ ในมิติด้านการจัดบริการ ความสามารถในการจ่าย การยอมรับของผู้รับบริการต่อผู้ให้บริการ วิธีการ : ใช้รูปแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนการรักษาด้วยยา จำนวน 120 คน ในสถานบริการสุขภาพต่างระดับ 4 แห่ง (โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเอกชน สำนักงานป้องกันควบคุมโรค) ในช่วงตุลาคม 2560 - มกราคม 2561 โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 มิติ คือ มิติการจัดบริการ 7 ข้อ มิติความสามารถในการจ่าย 7 ข้อ มิติการยอมรับของผู้รับบริการต่อผู้ให้บริการ 6 ข้อ วิเคราะห์การเข้าถึงบริการสุขภาพด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบครัสคอล วอลลิส ใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยของการเข้าถึงบริการสุขภาพใน 3 มิติ ของสถานบริการสุขภาพต่างระดับทั้ง 4 แห่ง ผลการวิจัย : จำนวนผู้ป่วยวัณโรคในสถานบริการ A เท่ากับ 22 คน (ร้อยละ 18.33) สถานบริการ B เท่ากับ 79 คน (ร้อยละ 65.83) สถานบริการ C เท่ากับ 5 คน (ร้อยละ 4.17) สถานบริการ D เท่ากับ 14 คน (ร้อยละ 11.67) การเข้าถึงบริการสุขภาพการรักษาวัณโรคของสถานบริการสุขภาพต่างระดับทั้ง 4 แห่ง มีการเข้าถึงระดับมากที่สุด (4.29?0.60) ในมิติการยอมรับของผู้รับบริการต่อผู้ให้บริการ รองลงมา มีการเข้าถึงระดับปานกลาง (3.84?0.66) ในมิติการจัดบริการ และมีการเข้าถึงน้อย (2.86?0.86) ในมิติความสามารถในการจ่าย นอกจากนี้พบว่า สถานบริการสุขภาพต่างระดับ 4 แห่ง มีความแตกต่างกันในมิติการจัดบริการและมิติความสามารถในการจ่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างกันในมิติการยอมรับของผู้รับบริการต่อผู้ให้บริการ สรุป : การยอมรับของผู้ป่วยวัณโรคต่อผู้ให้บริการ เป็นมิติที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา เป็นมิติการจัดบริการด้านสุขภาพ และมิติความสามารถในการจ่ายของผู้ป่วยมีความสำคัญน้อยที่สุดต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยวัณโรคได้เข้าถึงการรักษาได้ดีขึ้น ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ควรสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกัน สถานบริการควรมีมาตรการในการจัดบริการทั้งด้านสถานที่ กำลังคน ยา ระยะเวลา และระบบการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการมี ส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ในการให้ความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากการรักษาของผู้ป่วย
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ