![]() |
การสัมผัสตะกั่วในเด็กและมาตรการป้องกัน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง |
Title | การสัมผัสตะกั่วในเด็กและมาตรการป้องกัน |
Contributor | ศรุดา คุระเอียด, ดลรวี แวเยง |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 45 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 330-342 |
Keyword | เด็ก, การสัมผัสสารตะกั่ว, มาตรการป้องกันสารตะกั่ว |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | ตะกั่วเป็นสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก องค์การอนามัยโลกได้จัดโรคปัญญาอ่อนจากสารตะกั่วเป็นโรครุนแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งเนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพเด็กอย่างถาวร นอกจากนี้สารตะกั่วยังก่อให้เกิดภาวะความเป็นพิษในหลายระบบอวัยวะ เด็กสามารถสัมผัสสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ของใช้โดยผ่านทางการกินหรือการหายใจ อย่างไรก็ตามสารตะกั่วไม่มีระดับที่ปลอดภัย การสัมผัสสารตะกั่วแบบเรื้อรังแม้ในระดับต่ำจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และยังเป็นเรื่องยากในการตรวจพบอาการและอาการแสดงเริ่มแรก การวิเคราะห์ระดับสารตะกั่วในเลือดเป็นมาตรการที่นิยมใช้ในการเฝ้าระวังภาวะความเป็นพิษจากสารตะกั่ว มีรายงานการตรวจพบสารตะกั่วในเลือดของเด็กในหลายประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง สำหรับประเทศไทยหลังจากใช้มาตรการทางกฎหมายยกเลิกการใช้น้ำมันที่มีสารตะกั่ว ทำให้ระดับตะกั่วในเลือดของเด็กมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีรายงานระดับสารตะกั่วในเลือดสูงกว่าระดับอ้างอิง โดยเฉพาะในเด็กที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม การประมงและ เหมืองแร่ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการเฝ้าระวังการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กพื้นที่อื่น ๆ ยังมีไม่เพียงพอ รวมทั้งมาตรการควบคุมป้องกันเพิ่มเติมยังมีจำกัด ในขณะที่เด็กทุกคนมีความเสี่ยงในการสัมผัสสารตะกั่ว บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่งชี้แหล่งการรับสัมผัสสารตะกั่ว ปัจจัยที่มีผลต่อการรับสัมผัสสารตะกั่ว สถานการณ์ปัญหาสารตะกั่วในเด็ก การเสนอแนะมาตรการควบคุมป้องกัน และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของการกำหนดมาตรการป้องกัน |