![]() |
การพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รุ้งรังษี วิบูลชัย |
Title | การพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล |
Contributor | เพชรมณี วิริยะสืบพงศ์, รัชนี วงศ์แสน, ศุภชัย สิงโห |
Publisher | สถาบันวิจัย จัดการความรู้ และมาตรฐานการควบคุมโรค |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 44-54 |
Keyword | ประสิทธิผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคโรงพยาบาล |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล มีการออกแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลในงานป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล พยาบาลวิชาชีพในคลินิกวัณโรคและนักอาชีวอนามัยใน โรงพยาบาล ทั้งนี้มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสัดส่วนประชากร ได้จำนวน 310 คน โดยแบ่งดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะเตรียมการ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล (2) ระยะดำเนินการวิจัย เป็นการพัฒนาแผน ปฏิบัติการ การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงาน การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และการกำกับติดตามทุกสามเดือน (3) ระยะการประเมินผล โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตพฤติกรรมและแบบประเมิน โดยเครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ครอนบาค แอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และไคสแควร์ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลคือ ขาดแผนปฏิบัติการเฉพาะเจาะจงเรื่องการป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค (2) ผลการพัฒนาแผนปฏิบัติการ พบว่า เกิดแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 4 แผน (3) เกิดคู่มือปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล (4) ผลการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร พบว่า บุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาลร้อยละ 98.00 มีสมรรถนะด้านการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น (5) ผลการกำกับติดตาม พบว่า มีตัวชี้วัดการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลทุกสามเดือน (6) ผลการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล พบว่า มีระดับผลการดำเนินงานแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีนโยบายเฉพาะและประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเชื่อมโยงผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคกับอัตราการป่วยเป็นวัณโรคปอด และระยะเวลาที่ใช้บริการของผู้ป่วยวัณโรค/สงสัย รวมทั้งระยะเวลาการสัมผัสเชื้อวัณโรคของบุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาล |