ความชุกของโรคหนอนพยาธิและพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่เสี่ยงเขตสุขภาพที่ 7
รหัสดีโอไอ
Creator อรวรรณ แจ่มจันทร์
Title ความชุกของโรคหนอนพยาธิและพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่เสี่ยงเขตสุขภาพที่ 7
Contributor เกษร แถวโนนงิ้ว, เสรี สิงห์ทอง, ลักษณา หลายทวีวัฒน์, บุญจันทร์ จันทร์มหา, วัชรวีร์ จันทร์ประเสริฐ, อิศเรศ สว่างแจ้ง
Publisher สถาบันวิจัย จัดการความรู้ และมาตรฐานการควบคุมโรค
Publication Year 2559
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 36-43
Keyword ความชุก, โรคหนอนพยาธิ, พยาธิใบไม้ตับ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (cross-sectional survey analysis research) ครั้งนี้ เพื่อหาอัตราความชุกของการติดโรคหนอนพยาธิและพยาธิใบไม้ตับ โดยมีพื้นที่ในการศึกษาจำนวน 4 จังหวัด ในความรับผิดชอบของเขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ การวิจัย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การตรวจหาการติดโรคหนอนพยาธิและพยาธิใบไม้ตับ โดยใช้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ด้วยวิธีโมดิฟายด์ คาโต้ แคทซ์ (Modified Kato Katz method) กับส่วนที่ 2 การทำแบบสัมภาษณ์ เพื่อหาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปจะใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การเก็บข้อมูลจะใช้วิธีการสุ่มแบบ 30 clusters ได้จำนวนทั้งสิ้น 2,336 คน โดยศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557 ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 44.40 เพศหญิง ร้อยละ 55.60 ส่วน มากอยู่ในช่วงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี มากที่สุดร้อยละ 45.50 อายุเฉลี่ยประมาณ 46.43 ปี อายุต่ำสุด 11 ปี อายุสูงสุด 91 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 61.10 อาชีพทำนา/ทำสวนมากที่สุด ร้อยละ 63.30 กลุ่มตัวอย่างตรวจพบโรคหนอนพยาธิทั้งหมดจำนวน 420 คน (ร้อยละ 17.98) ตรวจไม่พบโรคหนอนพยาธิ จำนวน 1,916 คน (ร้อยละ 82.02) โดยพบติดโรคพยาธิใบไม้ตับ 348 คน (ร้อยละ 14.89) พยาธิตืด 29 คน (ร้อยละ 1.24) พยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดกลาง 18 คน (ร้อยละ 0.77) พยาธิปากขอ 2 คน (ร้อยละ 0.09) และหนอนพยาธิอื่น ๆ 23 คน (ร้อยละ 0.99) อย่างไรก็ดี กลุ่มที่ติดโรคหนอนพยาธิจะได้รับการรักษาโดยการให้ยารักษาโรคหนอนพยาธิจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และควรจะมีการติดตามตรวจซ้ำหาการติดโรคหนอนพยาธิในผู้ที่เคยติดโรคหนอนพยาธิ ส่วนผู้ไม่ติดโรคหนอนพยาธิก็ให้ความรู้ในการป้องกันโรคหนอนพยาธิ และติดตามเฝ้าระวังการติดโรคหนอนพยาธิในปีต่อไป
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ