![]() |
รูปแบบการสร้างความร่วมมือด้านการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าภายใต้แนวคิด "สุขภาพหนึ่งเดียว" ในพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ปี 2558 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศรินทร สนธิศิริกฤตย์ |
Title | รูปแบบการสร้างความร่วมมือด้านการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าภายใต้แนวคิด "สุขภาพหนึ่งเดียว" ในพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ปี 2558 |
Contributor | จินตนา ลิ่วลักษณ์, นิติพันธ์ ทันตวิวัฒนานนท์, ธวัช บุญนวม, ปัญญา แดงสีพลอย, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร |
Publisher | สถาบันวิจัย จัดการความรู้ และมาตรฐานการควบคุมโรค |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 25-35 |
Keyword | การสร้างและประสานความร่วมมือการเฝ้าระวัง, สุขภาพหนึ่งเดียว, การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เป็นปัญหาสาธารณสุขโรคหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากผู้ติดเชื้อจนถึงขั้นแสดงอาการแล้วจะเสียชีวิตทุกราย ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในกรุงเทพมหานคร จำนวน 71 ราย โดยได้รับเชื้อจากสุนัข 69 ราย (ร้อยละ 97.18) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขจรจัด (ร้อยละ 53.97) สำหรับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ถึงปัจจุบัน พบตัวอย่างสัตว์ให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่อง รวม 254 ตัว ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเขตลาดกระบัง ซึ่งพบสูงสุดในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 12 ตัว วัตถุประสงค์โครงการนี้มุ่งพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังบูรณาการป้องกัน ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เพื่อลดโอกาสการเกิดโรค ด้วยการเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยเริ่มดำเนินการในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 วิธีการศึกษา ใช้รูปแบบของการดำเนินงานประกอบด้วย (1) การ empowerment สู่การจัดการปัญหาในครัวเรือนและในชุมชน ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคในสัตว์และในคน (2) การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและปศุสัตว์ (3) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการบังคับใช้กฎหมาย (4) การรายงานอย่างเป็นระบบทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) มีระบบการเฝ้าระวังซึ่งพบว่า ในปีงบประมาณ 2558 มีรายงานโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 - 9 กรกฎาคม 2558 รวม 18 ตัว เป็นสุนัข 17 ตัว แมว 1 ตัว เป็นสุนัขในเขตลาดกระบัง 1 ตัว โดยไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า (2) มีระบบป้องกันโรคโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าล่วงหน้าให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยง (pre-exposure prophylaxic) จำนวน 377 ราย พัฒนาระบบการติดตามการฉีดวัคซีนป้องกันหลังสัมผัสโรค (post-exposure) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.00 เป็นร้อยละ 91.00 (3) มาตรการการป้องกันโรคในสัตว์โดยการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงในพื้นที่โดยแกนนำชุมชน จำนวน 14,134 ตัว จำแนกเป็นสุนัข 8,794 ตัว แมว 5,213 ตัว และสัตว์อื่นๆ 127 ตัว (4) ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ จำนวน 12,096 ตัว ส่งผลให้ความครอบคลุมวัคซีนในสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.00 เป็นร้อยละ 85.58 (5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงในชุมชน (community shelter) เพิ่มขึ้นจาก 2 แห่ง เป็น 9 แห่ง (6) ลดจำนวนสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าโดยการจัดหน่วยเคลื่อนที่ทำหมันถาวรสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ (7) มีระบบควบคุมโรคในสัตว์ที่สัมผัสโรคและสัตว์ที่มีอาการสงสัยโรคพิษสุนัขบ้ามากักขัง ดูอาการ การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ประชาชนในพื้นที่มีการตื่นตัว ทำให้การดำเนินการในการเฝ้าระวังในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่พบหัวสุนัขให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 และไม่พบผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ในพื้นที่ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จจากความ ร่วมมือใกล้ชิดของทุกภาคส่วนในการใช้มาตรการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์ที่มีประสิทธิภาพ จนสามารถลดการเกิดโรคในสัตว์และป้องกันการเกิดโรคในคนได้ จึงขอเสนอให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณานำรูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชนและภาคีเครือข่าย ภายใต้แนวคิด "สุขภาพหนึ่งเดียว" ของเขตลาดกระบัง ขยายผลไปยังพื้นที่เขตอื่นที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน และสร้างโอกาสให้เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของเขตลาดกระบัง เพื่อไปสู่เป้าหมายประเทศไทยปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในปี พ.ศ. 2563 |