![]() |
รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล |
Title | รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Contributor | กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, นิรันตา ไชยพาน, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์ |
Publisher | สถาบันวิจัย จัดการความรู้ และมาตรฐานการควบคุมโรค |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 15-24 |
Keyword | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, โรคพยาธิใบไม้ตับ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างและตรวจสอบรูปแบบโดยการยกร่างรูปแบบฯ ด้วยการประชุมสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ระยะที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา อสม. กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ใน 3 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย อสม. จำนวน 570 คน และประชาชน จำนวน 1,143 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอ้างอิง t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนา อสม. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกระบวนการ 3 ส่วน คือ (1) กระบวนการดำเนินการของหน่วยบริการปฐมภูมิ (2) กระบวนการดำเนินการของ อสม. ในระดับครัวเรือน (3) กระบวนการดำเนินการร่วมกันในระดับชุมชน ผลการทดลองใช้รูปแบบเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนา อสม. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้อค้นพบที่สำคัญดังนี้ (1) กระบวนการดำเนินการของหน่วยบริการปฐมภูมิพบว่า ส่งผลให้ อสม. มีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ ความเชื่อในความสามารถของตนเองในการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ พฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และการรับรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยการเยี่ยมบ้านของ อสม. ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (2) กระบวนการดำเนินการของ อสม. ในระดับครัวเรือนพบว่า ส่งผลให้ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ ความเชื่อในความสามารถของตนเองในการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (3) กระบวนการดำเนินการร่วมกันในระดับชุมชนพบว่า มีพื้นที่ที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนคิดเป็นร้อยละ 26.19 ซึ่งนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีเกณฑ์คุณภาพอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์มาตรฐาน |