![]() |
การเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ |
Title | การเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง |
Publisher | สถาบันวิจัย จัดการความรู้ และมาตรฐานการควบคุมโรค |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-10 |
Keyword | เฝ้าระวังเหตุการณ์, โรคไม่ติดต่อ, ปัจจัยเสี่ยง |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การเฝ้าระวังเหตุการณ์ เป็นกระบวนการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาเพื่อตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว แต่กระบวนการเฝ้าระวังเหตุการณ์ในปัจจุบันถูกประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพียงสำหรับโรคติดต่อเท่านั้น การประยุกต์องค์ความรู้ทางระบาดวิทยาเพื่อการออกแบบระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับโรคไม่ติดต่อ จำเป็นต้อง เข้าใจธรรมชาติการเกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงและกลไกการระบาด เพื่อการตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติและการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ต้องอาศัยการเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่เป็นระบบ ครอบคลุมมิติที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรม และสุขภาพของมนุษย์และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายรวมถึง ด้านธุรกิจการตลาด ด้านวัฒนธรรมและเทศกาลต่างๆ และ ด้านภัยพิบัติธรรมชาติ และต้องอาศัยความเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ประกอบกับการมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ประเทศไทยมีต้นทุนทั้งในแง่ทรัพยากรและระบบ ดังเช่น เครือข่ายเฝ้าระวังและเคลื่อนที่เร็วที่มีเครือข่ายทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ เครือข่าย อ.ย. น้อย ที่มีการตรวจสอบความปลอดภัยและฉลากอาหาร เครือข่ายภาคประชาสังคม ที่มีการเฝ้าระวังการฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีช่องทางการแจ้งเหตุการณ์ผิดปกติผ่านทางโทรศัพท์ อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังเหตุการณ์ในปัจจุบันที่เป็นรูปธรรม ยังมีเฉพาะเรื่องการเฝ้าระวังการฝ่าฝืนกฎหมายการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการควบคุม การบริโภคยาสูบ อีกทั้งการดำเนินการเฝ้าระวังส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของภาคประชาสังคม ดังนั้นประเทศไทยจึงควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับโรคไม่ติดต่อ ที่เชื่อมโยงภาครัฐ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม พัฒนาเครื่องมือหรือคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ครอบคลุมเนื้อหาแนวทางเฝ้าระวังโรคและรายงานโรค การสอบสวนโรค และการจัดการข้อมูลและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อรองรับระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับโรคไม่ติดต่อ |