![]() |
การพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อระดับอำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เกษร แถวโนนงิ้ว |
Title | การพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อระดับอำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย |
Contributor | สุพัฒน์ ธาตุเพชร, เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, ปักษิณ สารชัย |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 329-340 |
Keyword | การพัฒนารูปแบบ, ระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในระดับอำเภอ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คัดเลือกสถานศึกษาแบบเจาะจงในโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง สถานีอนามัย 17 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 2 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง รวมทั้งสิ้น 37 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คัดเลือกแบบเจาะจง เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จากการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากแฟ้มเวชระเบียน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบสัดส่วนความแตกต่างก่อนและหลังดำเนินการ ผลการศึกษาในระยะแรกของการดำเนินงานพบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขขาดความรู้ในการเฝ้าระวังโรค ใช้นิยามในการรายงานโรคน้อย ข้อมูลในระบบเฝ้าระวังโรคอธิบายการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในพื้นที่น้อย และความไวในการรายงานโรคต่ำ ทีมวิจัยและผู้ร่วมดำเนินการในพื้นที่ได้ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในระดับอำเภอ โดยวิเคราะห์ปัญหาจากการทำงานแล้วกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา มีการปฏิบัติและประเมินผลร่วมกัน ผลจากการพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังโรค ทำให้คุณลักษณะของการเฝ้าระวังโรคดีขึ้น (ความไว ค่าทำนายผลบวก ความเป็นตัวแทนของข้อมูล ความทันเวลา และคุณภาพข้อมูล) และมีข้อมูลเชิงคุณภาพสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ จากผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบที่ศึกษาในประชากรกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก การศึกษานี้ทำให้ได้รูปแบบในการสร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในระดับอำเภอ ที่เกิดจากการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป |