การสำรวจความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)ในกลุ่มประชาชนอายุ 20-50 ปี จังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2558
รหัสดีโอไอ
Creator วันดี วิรัสสะ
Title การสำรวจความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)ในกลุ่มประชาชนอายุ 20-50 ปี จังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2558
Contributor สมควร เสนลา
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 4
Page no. 309-319
Keyword ความครอบคลุม
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract จากการติดตามผลการดำเนินงานรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก ในประชากรอายุ 20-50 ปี ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มที่มีระดับภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอต่อการป้องกันต่อโรคคอตีบในสัดส่วนที่สูง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบ ซึ่งจังหวัดสิงห์บุรีมีจำนวนเป้าหมาย 58,000 คน ตั้งแต่มกราคม-เมษายน 2558 พบว่า ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนยังไม่ถึงร้อยละ 85.00 ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายที่จะสามารถป้องกันไม่ให้โรคคอตีบระบาดได้ จึงได้ทำการสำรวจเพื่อประเมินความครอบคลุมการได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก ในประชากรกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว และศึกษาสาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก ในกลุ่มประชากรอายุ 20-50 ปี เป็นการศึกษาเชิงสำรวจชนิด cross sectional survey โดยวิธี 30 cluster sampling สุ่มเลือก 30 หมู่บ้าน ตามสัดส่วนจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัดสิงห์บุรี 381 หมู่บ้าน กำหนดขนาดตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) สำรวจข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ประชากรอายุ 20-50 ปี ตามแบบสำรวจที่กำหนด หมู่บ้านละไม่ต่ำกว่า 13 คน ในช่วงระหว่างมิถุนายน-สิงหาคม 2558 ผลการศึกษาพบว่า ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน ร้อยละ 51.36 จากกลุ่มเป้าหมายที่สำรวจ 841 คน และสถานที่ที่ประชาชนไปรับบริการวัคซีนมากที่สุดคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 50.00 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนไปแล้วส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.21 ไม่มีอาการภายหลังได้รับวัคซีน มีเพียงร้อยละ 30.78 ที่มีอาการเล็กน้อย ได้แก่ มีไข้ต่ำๆ เพียง 1-2 วัน และมีอาการปวด บวมแดงเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา และอาชีพของประชากรที่สำรวจพบว่า ปัจจัยทางด้านอายุและอาชีพมีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีน เห็นได้ว่าถ้าช่วงอายุมาก 40-50 ปี จะได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่าช่วงอายุน้อยๆ และอาชีพเกษตรกรจะมีสัดส่วนของการได้รับวัคซีนมากกว่าอาชีพอื่นๆ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ สาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.69 ไม่ว่าง ไม่มีเวลาไป รองลงมาไม่ทราบว่ามีการรณรงค์ให้วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก ร้อยละ 23.47 จากการศึกษาในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า ความครอบคลุมจากการสำรวจน้อยกว่าความครอบคลุมที่ได้จากการรายงาน ด้วยสาเหตุเจ้าหน้าที่ให้ตัวเลขเป้าหมายไม่ถูกต้อง และเพื่อให้ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จึงเห็นควรขยายเวลาการให้บริการวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักออกไป เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ให้มารับวัคซีนตามเป้าหมายที่กำหนด และหน่วยงานส่วนกลางควรจะต้องประชาสัมพันธ์ข้อมูลทาง mass media และเพิ่มความถี่ในการเผยแพร่ตามโอกาส
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ