![]() |
การสังเคราะห์อภิมานงานวิจัย ปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จุรีย์ อุสาหะ |
Title | การสังเคราะห์อภิมานงานวิจัย ปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย |
Contributor | ฐิติพร กันวิหค, เศรณีย์ จุฬาเสรีกุล, วิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 271-284 |
Keyword | นิเวศวิทยาเชิงสังคม, ปัจจัยป้องกัน, การสูบบุหรี่, เยาวชนไทย, สังเคราะห์งานวิจัย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | บุหรี่เป็นสารเสพติดชนิดแรกที่วัยรุ่นติด เป็นสื่อนำไปสู่การติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่า เช่น สุรา เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า และพบว่า การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลต่อภาระโรคสูงเป็นอันดับ 2 รองจากปัจจัยเสี่ยงด้านการดื่มแอลกอฮอล์ หากทราบว่าปัจจัยใดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการควบคุมป้องกันการใช้ยาสูบในเยาวชนไทย ในการศึกษานี้ จึงใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการสังเคราะห์อภิมานงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย ตามกรอบแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงสังคม ผลการศึกษา จากการสืบค้นฐานข้อมูล Google Scholar, Scopus และ Science Direct มีจำนวน 6,372 บทความ จากคำค้นที่กำหนดขึ้น และมีจำนวน 18 บทความ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพบทความตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เมื่อนำมาสกัดข้อมูลตามกรอบแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงสังคมในทุกมิติพบว่า ปัจจัยในระดับสังคม/นโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะการออกกฎหมาย และการขึ้นภาษีบุหรี่ มีผลในเชิงการป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย และปัจจัยในระดับระหว่างบุคคล ได้แก่ การมีตัวแบบที่ดีจากพ่อแม่ บุคคลในครอบครัว ครู และบุคคลที่มีชื่อเสียง มีผลในเชิงการป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย ซึ่งในประเทศไทยพบว่า มีการดำเนินการเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนในระดับต่างๆ แต่ยังขาดความเชื่อมโยงที่ชัดเจนในแต่ละระดับ และพบว่าปัจจัยในระดับชุมชนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยังมีการดำเนินการไม่ตรงกับปัจจัยป้องกันที่ค้นพบ จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า การป้องกันการใช้ยาสูบในเยาวชนจะสำเร็จได้ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกระดับ ตามกรอบแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงสังคม และให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างระดับในทุกมิติด้วย |