![]() |
การสำรวจทางกีฏวิทยายุงพาหะนำโรคไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่รอยโรคจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | คณพศ ทองขาว |
Title | การสำรวจทางกีฏวิทยายุงพาหะนำโรคไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่รอยโรคจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Contributor | วิโรจน์ ฤทธาธร, สุพิทย์ ยศเมฆ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 57-67 |
Keyword | ไข้ปวดข้อยุงลาย, ชิคุนกุนยา, ยุงลายสวน, สุราษฏร์ธานี |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและความหนาแน่นของยุงพาหะนำโรคไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่ที่เคยมีการระบาด และดูความสัมพันธ์ของความหนาแน่นของยุงพาหะนำโรคกับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน โดยทำการสำรวจทางกีฏวิทยาของยุงพาหะนำโรคในบ้าน นอกบ้าน และในสวน ในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลถ้ำผึ้ง อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน มิถุนายน และสิงหาคม ปี พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า ไม่พบยุงลายบ้านในบ้านที่ทำการสำรวจ ส่วนยุงลายสวนในพื้นที่มีความหนาแน่นสูง ในช่วงการศึกษาพบว่า มีความหนาแน่นสูงสุดในเดือนมิถุนายน ทั้งบริเวณในบ้าน นอกบ้าน และในสวน (0.104, 4.250 และ 11.396 ตัว/คน-ชั่วโมง ตามลำดับ) และความหนาแน่นของยุงลายสวน ทั้งบริเวณในบ้าน นอกบ้าน และในสวนพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.001) ยุงลายสวนจึงเป็นพาหะนำโรคไข้ปวดข้อยุงลายที่สำคัญในพื้นที่ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของยุงลายสวนในพื้นที่ที่ศึกษากับปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในแต่ละเดือนพบว่า ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิไม่มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของยุงลายสวน ส่วนความชื้นสัมพัทธ์นั้นพบว่า เดือนกุมภาพันธ์ มิถุนายน และสิงหาคม ไม่มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของยุงลายสวน ยกเว้นในเดือนเมษายน ความชื้นสัมพัทธ์มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของยุงลายสวน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.249, p=0.035) ดังนั้นควรต้องเฝ้าระวังทางกีฏวิทยายุงพาหะนำโรคไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากมีความพร้อมที่จะแพร่โรคติดต่อนำโดยแมลงอุบัติใหม่ต่างๆ ในอนาคตไต้ |