![]() |
การพัฒนารูปแบบการป้องกันการระบาดของโรคมาลาเรียในจังหวัดกาฬสินธุ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชื่นพันธ์ วิริยะวิภาต |
Title | การพัฒนารูปแบบการป้องกันการระบาดของโรคมาลาเรียในจังหวัดกาฬสินธุ์ |
Contributor | วันทนา กลางบุรัมย์ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 29-37 |
Keyword | รูปแบบ, การระบาด, โรคมาลาเรีย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรีย และพัฒนารูปแบบการป้องกันการระบาดของโรคมาลาเรียในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาในตำบลผาเสวย แซงบาดาล และมหาชัย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ รูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากประชากรใน 3 ตำบล จำนวน 200 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติกส์ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ บูรณาการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมแบบพาอิก คัดเลือกหมู่บ้านที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัย จำนวน 11 หมู่บ้าน ประเมินผลสัมฤทธิ์ของรูปแบบโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการศึกษาขั้นตอนที่ 1 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียคือ การมีจิตสาธารณะในตนเองและแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพ โดยผู้ที่มีจิตสาธารณะในตนเอง จะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียสูงเป็น 2.90 เท่า (OR = 2.90 , 95% Cl = 0.24-0.88) ของผู้ที่ไม่มีจิตสาธารณะในตนเอง ขั้นตอนที่ 2 รูปแบบการป้องกันการระบาดโรคมาลาเรียคือ การใช้กลยุทธ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มเยาวชนเป็นจิตอาสา วางแผนการดำเนินงานโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ให้ความรู้และสรุปผลการดำเนินงานที่วัดทุกวันพระ มีองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง สนับสนุนการดำเนินงาน การประเมินผลสัมฤทธิ์ พบว่า ทุกหมู่บ้านมีการดำเนินการตามรูปแบบดังกล่าว มีค่า HI เป็น 0 ทุกหมู่บ้าน จำนวนผู้ป่วยมาลาเรีย ปี พ.ศ. 2557 ลดลงจากปี พ.ศ. 2555 และ 2556 ร้อยละ 98.60 และร้อยละ 87.90 ตามลำดับ ดังนั้น ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหารูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินการ รูปแบบดังกล่าวควรเกิดจากชุมชนเองจึงจะเกิดความยั่งยืน ซึ่งสามารถนำรูปแบบที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามบริบทในแต่ละพื้นที่ในลำดับต่อไป |