การศึกษาทางระบาดวิทยาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นซิลิการะดับ Heme Oxygenase-1 ในเลือด กับการเกิดโรคซิลิโคสิส
รหัสดีโอไอ
Creator อนงค์ศิลป์ ด่านไพบูลย์
Title การศึกษาทางระบาดวิทยาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นซิลิการะดับ Heme Oxygenase-1 ในเลือด กับการเกิดโรคซิลิโคสิส
Contributor วิทยา หลิวเสรี, ชาญณรงค์ ชัยสุวรรณ, เจียรนัย ขันติพงศ์, ศุภกิจ คชาอนันต์, โกวิทย์ นามบุญมี
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 14-22
Keyword ซิลิโคสิส, ซิลิกา
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การศึกษาด้านระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (retrospective cohort analytic study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นซิลิกา และระดับ Heme Oxygenase-1 ในเลือด กับการเกิดโรคซิลิโคสิส โดยการสัมภาษณ์ เก็บตัวอย่างอากาศเพื่อหาปริมาณฝุ่นซิลิกา และตรวจเลือดหาปริมาณระดับ Heme Oxygenase-1 ในเลือด เอกซเรย์ทรวงอก ในกลุ่มคนงานอุตสาหกรรมครกหินและกลุ่มประชาชนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพครกหิน ในตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปีพ.ศ. 2555 โดยทำการศึกษาทั้งหมด 236 ราย แยกเป็นกลุ่มที่สัมผัสฝุ่นหิน (กลุ่มทำอาชีพครกหิน) 117 ราย และผู้ไม่สัมผัสฝุ่นหิน (กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอื่น) 119 ราย รวม 236 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ binary logistic regression analysis ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของปริมาณซิลิกาในบรรยากาศของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพครกหินเป็น 12.11 mg/cm3 และค่าสูงสุดคือ 20.41 mg/cm3 ค่าเฉลี่ยของระดับ HO-1 ในเลือดของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพครกหินเป็น 110.43 ng/ml กลุ่มของผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่ครกหินเป็น 90.30 ng/ml และยังพบความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซิลิโคสิส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.005 โดยเมื่อปริมาณฝุ่นซิลิกาที่เพิ่มขึ้น 1 mg/cm3 จะทำให้คนที่สัมผัสมีโอกาสป่วยเป็นโรคซิลิโคสิสเป็น 1.218 เท่า ของคนที่สัมผัสปริมาณฝุ่นซิลิกาน้อยกว่า 1 (mg/cm3) และยังพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับ Heme Oxygenase-1 กับการเกิดโรคซิลิโคลิส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.005 ดังนั้นสามารถพยากรณ์ได้ว่า คนที่มีระดับ HO-1 ในเลือดลดลง 1 (ng/ml) ทำให้มีโอกาสเป็นโรคซิลิโคสิส 0.977 เท่า และพบความสัมพันธ์การเกิดโรคซิลิโคสิสกับระยะเวลาการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.005 สามารถพยากรณ์ได้ว่า เมื่อคนงานอายุเพิ่มขึ้นทุก 1 ปี มีโอกาสเป็นโรคซิลิโคสิส 1.065 เท่า จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าค่าปริมาณ HO-1 ในเลือด อายุงาน และปริมาณซิลิกา มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซิลิโคสิส แต่การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระยะสั้น จึงควรมีการศึกษาต่อเนื่องและหาค่า specificity และ sensitivity เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจคัดกรองโรคซิลิโคสิส เบื้องต้นต่อไป
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ