![]() |
การใช้บริการป้องกันเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในพนักงานบริการทางเพศหญิง หลังการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ |
Title | การใช้บริการป้องกันเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในพนักงานบริการทางเพศหญิง หลังการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ |
Contributor | สุรางค์ จันทร์แย้ม, ดุสิตา พึ่งสำราญ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 142-150 |
Keyword | เอชไอวี, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, พนักงานบริการทางเพศหญิง, ปฏิรูประบบบริการสุขภาพ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้บริการป้องกันเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในพนักงานบริการทางเพศหญิงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากมีการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ ที่ปรับคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไปให้กับโรงพยาบาล โดยศึกษาในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สงขลา และเชียงใหม่ สุ่มเลือกตัวอย่างตามสัดส่วนและจำนวนตามประเภทบริบทการบริการและพนักงานในจังหวัดนั้นๆ พนักงานบริการได้รับการเชิญเข้าสัมภาษณ์โดยสมัครใจตามแบบสอบถามที่กำหนด ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานบริการหญิง จำนวน 813 คน มีอายุเฉลี่ย 28 ปี ช่วงอายุ 14-62 ปี โดยร้อยละ 94.7 เป็นคนไทย ร้อยละ 22.5 ระบุไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ ร้อยละ 68.6 มีหลักประกันสุขภาพบัตรทอง โดยร้อยละ 11.4 ที่ย้ายทะเบียนมาในพื้นที่ทำงาน ระยะเวลาเฉลี่ยมัธยฐานการทำงานบริการทางเพศคือ 2 ปี มีลูกค้าบริการทางเพศในเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ยมัธยฐาน 14 คน ร้อยละ 39.4 ของพนักงานเคยมีตกขาวผิดปกติใน 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 67.1 เคยตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยร้อยละ 60.1 เป็นการตรวจใน 12 เดือน ร้อยละ 82.9 เคยตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยร้อยละ 68.8 เป็นการตรวจใน 12 เดือน สัดส่วนการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในพนักงานที่ทำงานคาราโอเกะ (ร้อยละ 52.1), บาร์เบียร์ (ร้อยละ 54.3), และอิสระ (ร้อยละ 63.3) ต่ำกว่าพนักงานที่ทำงานในบาร์อโกโก (ร้อยละ 80.3), สำนัก (ร้อยละ 81.1), และอาบอบนวด (ร้อยละ 94.9) พนักงานที่อายุน้อยกว่า 20 ปี มีสัดส่วนการเคยตรวจฯ ร้อยละ 43.1 ต่ำกว่ากลุ่มอายุอื่น ผู้ที่มีบัตรทองและย้ายทะเบียนมาพื้นที่ทำงานเคยตรวจฯ ร้อยละ 79.6 ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่มีหลักประกันหรือประกันแบบอื่น การศึกษานี้ชี้ว่า ควรพัฒนาบริการด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอชไอวีสำหรับพนักงานบริการหญิง และขยายให้รวมด้านอนามัยการเจริญพันธ์ สารเสพติด และแอลกอฮอล์ โดยควรมุ่งเน้นให้ครอบคลุมผู้ที่อายุน้อย ทำงานในบริบทบริการประเภทคาราโอเกะ บาร์เบียร์ และอิสระ รวมทั้งผู้ที่ไม่มีบัตรทองหรือมีแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนมาพื้นที่ทำงาน |