การรับรู้ การเรียนรู้ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ของประชาชนไทย พ.ศ. 2558
รหัสดีโอไอ
Creator มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล
Title การรับรู้ การเรียนรู้ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ของประชาชนไทย พ.ศ. 2558
Contributor กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, นิรันตา ไชยพาน, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 4
Page no. 253-263
Keyword การรับรู้, การเรียนรู้, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา การรับรู้การประเมินเผชิญอันตรายต่อโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา การรับรู้การประเมินเผชิญปัญหาต่อโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทัศนคติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ประเภทของสื่อหรือแหล่งข้อมูลในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และความคิดเห็นต่อข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบคุณภาพ ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา การรับรู้การประเมินเผชิญอันตรายต่อโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และการรับรู้การประเมินเผชิญปัญหาต่อโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ทัศนคติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ประเภทของสื่อหรือแหล่งข้อมูลในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และความคิดเห็นต่อข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ข้อค้นพบที่น่าสนใจบางประการ ได้แก่ ประชาชนรับรู้ในเรื่องวิธีการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาน้อยที่สุด และประชาชนมีความเข้าใจไม่ถูกต้องในประเด็นโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาไม่มียารักษาโรคโดยเฉพาะมากที่สุด ส่วนแหล่งข้อมูลที่ประชาชนมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุดคือ โทรทัศน์/เคเบิ้ลทีวี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรใช้โทรทัศน์/เคเบิ้ลทีวี เป็นสื่อหลักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในสื่อรูปแบบอื่นๆ ผ่านช่องทางที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ประชาชนในทุกกลุ่มวัยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ตามความต้องการและความสนใจ อันจะนำไปสู่การสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ