ประสิทธิผลการจัดกิจกรรมด้านเอดส์ของเยาวชนในสถานศึกษา ปี 2552-2554
รหัสดีโอไอ
Creator รวิสรา จิรโรจนวัฒน
Title ประสิทธิผลการจัดกิจกรรมด้านเอดส์ของเยาวชนในสถานศึกษา ปี 2552-2554
Contributor อภิญญา เปี่ยมวัฒนาทรัพย์, นุชนาฎ รองศรีแย้ม
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 2
Page no. 98-109
Keyword กิจกรรมเอดส์, เยาวชน
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract เป็นการศึกษาประสิทธิผลการรับรู้ผลการจัดกิจกรรมเรื่องเอดส์ของเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี และสรุปบทเรียนการจัดกิจกรรมฯ ของทีมเครือข่ายฯ ครูและเยาวชนแกนนำ รวมทั้งประเมินความรู้ ความพึงพอใจของเยาวชนต่อการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนำไปขยายผล เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการรับรู้การจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนจากสถานศึกษาในอำเภอเป้าหมายจำนวน 867 คน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า หลังการรับรู้การจัดกิจกรรมฯ เยาวชนกลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทัศนคติเรื่องเอดส์ฯ ได้ถูกต้องมากกว่าก่อนรับรู้การจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดกับคู่รักต่างเพศเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการถอดบทเรียนพบว่า แนวคิดในการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยทีมเครือข่าย ทำให้เยาวชนแต่ละสถานศึกษาจัดกิจกรรมที่หลากหลาย จากการใช้ยุทธศาสตร์การทำงานแบบเครือข่าย กลไกการขับเคลื่อนงานไม่เพียงพอที่จะทำให้เยาวชนเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงความไม่พร้อมและศักยภาพครูที่จะสอนเพศศึกษา การออกแบบการดำเนินงานเน้นกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ขาดการบูรณาการแต่ละมิติ ทำให้เยาวชนแกนนำและครูผู้สอนจัดกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง หากไม่สอดรับกับนโยบาย งบประมาณ และความรู้ของทีมเครือข่าย จากผลวิเคราะห์การดำเนินงานพบว่า บางกิจกรรมขาดการมีส่วนร่วมของเยาวชนและไม่เข้มข้นพอที่จะบรรลุผลในระยะยาว ขาดการติดตามความก้าวหน้า ทำให้ไม่สามารถยกคุณภาพการทำงานของเยาวชนแกนนำ รูปแบบกิจกรรมที่จัดเหมาะกับการรับรู้ของเยาวชน การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบระหว่างดำเนินงานควรระวังไม่ให้เกิดขึ้น จะทำให้การเรียนรู้งานไม่ต่อเนื่อง การกำหนดคุณสมบัติเป็นเยาวชนแกนนำต้องชัดเจน เพื่อใช้กับเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้แนวปฏิบัติ การมีสัมพันธภาพที่ดีและการสนับสนุนของทีมเครือข่าย ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้ผลที่เกิดขึ้นจากโครงการ เยาวชนมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น ได้เรียนรู้และให้บทเรียนแก่คนทำงานได้พัฒนาทักษะและความรู้ การถ่ายทอดผ่านกิจกรรมที่เหมาะกับเยาวชน การเข้าร่วมตลาดนัดความรู้ของเยาวชนจากสถานศึกษาอื่น ทำให้ใต้รับความรู้ฯ และความพึงพอใจระดับมากและมีการนำไปขยายผล ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เข้าถึงเยาวชน ศักยภาพของครูผู้สอน และการสนับสนุนต่างๆ จะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชน
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ