การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้หูดับของโรงพยาบาล 5 แห่งใน 5 จังหวัดทางภาคเหนือในปี พ.ศ. 2556
รหัสดีโอไอ
Creator อาทิชา วงศ์คำมา
Title การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้หูดับของโรงพยาบาล 5 แห่งใน 5 จังหวัดทางภาคเหนือในปี พ.ศ. 2556
Contributor เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 2
Page no. 87-97
Keyword ไข้หูดับ, ระบบเฝ้าระวัง, การประเมิน
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract โรคไข้หูดับ เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือจากการสัมผัสเนื้อหรือเลือดสุกรที่มีเชื้อ Streptococcus suis ปนเปื้อนอยู่ โรคนี้มีอัตราตาย ร้อยละ 5.00-20.00 สำนักระบาดวิทยามีการเฝ้าระวังโรคนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 การประเมินระบบเฝ้าระวังครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงขั้นตอนการรายงานโรคไข้หูดับในโรงพยาบาลทั่วไป 5 แห่ง ใน 5 จังหวัดทางภาคเหนือ และทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการรายงานโรค โดยทำการศึกษาภาคตัดขวาง (cross sectional study) ศึกษาคุณลักษณะข้อมูลเชิงปริมาณ ค้นหาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ใน 5 โรงพยาบาลในเขตภาคเหนือ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Epi Info) ในการวิเคราะห์ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบผู้ป่วย 460 ราย เข้าตามนิยามในการรายงานโรค 67 ราย เป็นผู้ป่วยสงสัย 19 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย 28 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 20 ราย มีความไวหรือครบถ้วนในการรายงาน ร้อยละ 29.89 คิดเป็นค่าพยากรณ์บวก (predictive positive value) ร้อยละ 44.45 โดยมีค่าเฉลี่ยอายุใกล้เคียงกับระบบเฝ้าระวัง (รง. 506) สามารถเป็นตัวแทนได้ ในด้านความทันเวลา มีค่าเฉลี่ย 4.90 วัน ระบบเฝ้าระวังโรคในโรงพยาบาล พยาบาลเป็นจุดคัดกรองสำคัญในการตรวจจับความผิดปกติของโรคนี้ ถ้าพยาบาลมีความรู้และเข้าใจระบบเฝ้าระวังโรค และมีเครือข่ายการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ จะเพิ่มความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวัง และทำให้ทราบสถานการณ์การเกิดโรคที่แท้จริงได้
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ