![]() |
ความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในโฮสต์กึ่งกลาง ในพื้นที่โครงการฝายหัวนาจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2557 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ประวิ อ่ำพันธุ์ |
Title | ความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในโฮสต์กึ่งกลาง ในพื้นที่โครงการฝายหัวนาจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2557 |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 227-240 |
Keyword | พยาธิใบไม้ตับ, โฮสต์กึ่งกลาง |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับของปลาและหอย ซึ่งเป็นโฮสต์กึ่งกลางในพื้นที่ฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เก็บตัวอย่างได้จำนวน 2,948 ตัวอย่าง จำแนกเป็นตัวอย่างจากหอย 9 ชนิด ที่มาจาก 13 แหล่ง ทำการตรวจหา cercariae ด้วยวิธี cercarial shedding method และตรวจด้วยกล้อง stereo microscope ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในหอยตัวอย่าง แต่ตรวจพบพยาธิลำไส้ intestinal flukes 506 ตัวอย่าง (17.20%) เป็น Echinostoma spp. 30 ตัวอย่าง (1.00%), Schistosoma spindale 33 ตัวอย่าง (1.10%) หอยที่พบตัวอ่อนพยาธิมากที่สุดคือ หอย Bithynia spp. พบ intestinal flukes 19.70% พบ Schistosoma spindale 1.20% และ Echinostoma spp. 0.80% ตัวอย่างจากปลาเก็บได้ 225 ตัวอย่าง เป็นปลาเกล็ดขาว 15 ชนิด ทำการตรวจหา metacercariae ด้วยวิธีกดทับด้วยแผ่นกระจก plexiglas แล้วนำไปตรวจด้วยกล้อง stereo microscope พบตัวอ่อนพยาธิ intestinal flukes จำนวน 28 ตัวอย่าง (12.60%), Like O. viverrini 4 ตัวอย่าง (1.80%) ปลาที่พบตัวอ่อนพยาธิมากที่สุด คือ ปลาตะเพียนทราย พบ intestinal flukes 43.10%, Like O. viverrini 3.90% การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ปลาเกล็ดขาวในบริเวณนี้มีการติดเชื้อพยาธิลำไส้และพยาธิใบไม้ตับ และพบว่าหอยมีการติดเชื้อพยาธิลำไส้ ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุขควรตระหนักถึงเรื่องนี้ และให้ความรู้แก่ประชาชนในการบริโภคอาหารจากหอยและปลาที่ปรุงสุกเท่านั้น |