การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกโดยใช้ข้อมูล 5 มิติ เขตสุขภาพที่ 9
รหัสดีโอไอ
Creator กาญจนา ยังขาว
Title การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกโดยใช้ข้อมูล 5 มิติ เขตสุขภาพที่ 9
Contributor กัญญรัตน์ สระแก้ว
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 208-218
Keyword การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกโดยใช้ข้อมูล 5 มิติ เขตสุขภาพที่ 9 พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์และชัยภูมิ วิธีการศึกษา ใช้วิธีการระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูล 5 มิติ ประกอบด้วย ปัจจัยต้นเหตุ พฤติกรรมเสี่ยง การตอบสนองของแผนงานควบคุมโรค การป่วย/การตาย และเหตุการณ์ผิดปกติและการระบาด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์การกระจายข้อมูลการป่วย ตามบุคคล สถานที่ เวลา การกระจายของปริมาณน้ำฝน ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนกับจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ด้วยวิธีการทดสอบสหสัมพันธ์ถดถอยอย่างง่าย (simple linear regression) การพยากรณ์โรคล่วงหน้า ใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ (Time Series Model) โดยใช้แบบจำลองอนุกรมเวลาในการวิเคราะห์ค่าการพยากรณ์ (Holt-Winters แบบ multiplicative) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของจำนวนผู้ป่วยกับค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เกิดโรค เมื่อพิจารณาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดว่า ค่า CI ต้องไม่เกิน 5 และค่า HI ต้องไม่เกิน 10 แล้ว พบว่า หมู่บ้านที่มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2553-2557 ร้อยละ 87.70 ของหมู่บ้านเกิดโรค มีค่า HI มากกว่า 10 และมีร้อยละ 73.80 ของหมู่บ้านเกิดโรค มีค่า CI มากกว่า 5 ด้าน ความสัมพันธ์ของจำนวนผู้ป่วยกับปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ถดถอยอย่างง่าย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2557 พบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ เมื่อพยากรณ์โรคล่วงหน้า ใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลรายเดือน ปี พ.ศ. 2553-2557 คาดคะเนจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ว่า ในปี พ.ศ. 2558 จะมีผู้ป่วยทั้งสิ้นประมาณ 4,289 ราย โดยเดือนมิถุนายน-สิงหาคม จะมีรายงานผู้ป่วยสูงสุด ถ้าอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่สภาพลักษณะทั่วไปที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคเหมือนเดิม ด้านการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน จากการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของการควบคุมโรค ยังขาดกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายที่ต่อเนื่อง โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในเขตสุขภาพที่ 9 โดยมีการพยากรณ์ว่า ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคยังเหมือนเดิม จะมีรายงานผู้ป่วยในเขตสุขภาพที่ 9 สูงกว่าปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรมีการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในด้านทรัพยากร กำลังคน และเงินงบประมาณ ตลอดจนเพื่อสนับสนุน เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้มีการดำเนินการรณรงค์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ