![]() |
การพัฒนากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในบุคลากรกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อัญญา นิมิหุต |
Title | การพัฒนากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในบุคลากรกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 200-207 |
Keyword | การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม, การพัฒนาบุคลากร, กรมควบคุมโรค |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในบุคลากรกรมควบคุมโรค และพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมป้องกันควบคุมโรคของประชาชนในพื้นที่ คัดเลือกตัวแทนแบบเจาะจง เลือกจากบุคลากรที่ขอรับการสนับสนุนการวิจัยจากกรมควบคุมโรค ได้ตัวแทน จำนวน 6 โครงการ แบ่งเป็นนักวิจัยกรมควบคุมโรค จำนวน 23 คน และนักวิจัยชุมชน จำนวน 33 คน การพัฒนาใช้วิธีอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจหลักการ แนวคิด ระเบียบวิธีปฏิบัติการวิจัย การสร้างเครื่องมือ และการใช้เครื่องมือการวิจัยทางสังคม โดยผู้เข้าร่วมอบรมได้ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมควบคู่กับการฝึกอบรม เก็บรวมรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดทักษะการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม 6 ด้าน คือ (1) การวิเคราะห์สถานการณ์และการค้นหาศักยภาพและต้นทุนทางสังคม (2) การเก็บรวบรวมข้อมูลทางสังคม (3) การจัดการข้อมูลภาคสนาม (4) การสร้างความร่วมมือและพัฒนานักวิจัยชุมชน (5) การวิเคราะห์ปัญหาและวางแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน และ (6) การถอดบทเรียน การดำเนินงานร่วมกับชุมชน หลังจากสิ้นสุดการวิจัยพบว่า เกิดรูปแบบการป้องกันควบคุมโรค จำนวน 6 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการแจ้งเตือนกลุ่มแรงงานต่างด้าวเพื่อเข้ารับการรักษาโรคติดต่อ (2) รูปแบบสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน (3) รูปแบบการมองปัญหาของชุมชนอย่างรอบด้านเพื่อป้องกันเอดส์ในเยาวชน (4) รูปแบบส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อการป้องกันโรคเรื้อรัง (5) รูปแบบการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดเพื่อการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ และ (6) รูปแบบสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยตัวแทนชุมชนพื้นที่วิจัย 5 แห่ง สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้เอง มีเพียง 1 แห่ง ที่ต้องร่วมกับบุคลากรกรมควบคุมโรคดำเนินการทุกขั้นตอน เนื่องจากขาดความต่อเนื่องในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารควรกำหนดมาตรการส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคร่วมกับชุมชน และขยายผลสู่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง |